ประวัติ ทนายอานนท์
* ทนายอานนท์ มีชื่อจริงว่า อานนท์ นำภา
เขาเกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2527
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยสำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาเอาดีทางด้านสิทธิมนุษยชนในปี 2549 ต่อมาในปี 2551 เขาประกอบอาชีพเป็นทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและรับว่าความให้จำเลยนักเคลื่อนไหวคนสำคัญ รวมทั้งอำพล ตั้งนพกุล และ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทำให้ถูกตั้งชื่อว่า ทนายเสื้อแดง
* เขาเป็น ทนายความสิทธิมนุษยชน
* จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
* จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง เนติบัณฑิตไทย
อานนท์ นำภา เป็นทนายความที่ว่าความให้ผู้ต้องหาในคดีทางการเมือง และนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมักทำกิจกรรมที่ชี้ให้เห็นความไม่เป็นธรรมและเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ รวมไปถึงยังเคยว่าความให้กับนักกิจกรรมทางการเมือง 3 คน ที่ร่วมกันกระทำอารยะขัดขืน ฉีกบัตรลงประชามติ เพราะต้องการแสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมของการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560
ทนายอานนท์ ร่วมเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยอยู่หลายครั้ง เช่น ม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์ เสกคาถาฯ ปกป้องประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการนำวรรณกรรมเรื่อง ‘Harry Potter’ มาเป็นธีมหลักของการชุมนุม โดยเนื้อหาการชุมนุมครั้งนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองไทยในปัจจุบัน
ล่าสุดในวันที่ 7 สิงหาคม ได้มีหมายจับ เขา ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดฐาน ร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำ ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขารับว่าความคดีสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก และเริ่มดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเองด้วย ในปี 2558 เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพลเมืองโต้กลับ นับแต่นั้นเขาถูกทางการตั้งข้อหาว่าละเมิดกฎหมายหลายข้อหา
ผลงานเพลง
ซิงเกิล
- จูบเย้ยจันทร์ (โอชา) (พ.ศ. 2558)
- เอาไม่ลง (พ.ศ. 2558)
- 16 เดือนแห่งความหลัง (พ.ศ. 2558)
- อย่างนี้ต้องตีเข่า โหวตไม่เอาแล้วตีตก (พ.ศ. 2559)
รางวัลและเกียรติยศ
- รางวัลควังจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (Gwangju Prize for Human Rights) ประเทศเกาหลีใต้ (พ.ศ. 2564)
- 1 ใน 100 บุคคลสร้างแรงกระเพื่อมในสังคม (Time 100 Next) นิตยสาร TIME ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2564)
by TVPOOL ONLINE