เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

รัฐสภากัมพูชาลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลสามารถเพิกถอนสัญชาติจากพลเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าสมคบกับอำนาจต่างชาติในการต่อต้านประเทศ โดยสมาชิกรัฐสภา 125 คน รวมถึงนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ลงคะแนนเห็นชอบทั้งหมด

การแก้ไขครั้งนี้ได้เปลี่ยนถ้อยคำในรัฐธรรมนูญจากเดิมที่ระบุว่า “ไม่มีพลเมืองเขมรคนใดจะถูกเพิกถอนสัญชาติ ถูกเนรเทศ หรือส่งตัวให้ประเทศอื่น ยกเว้นด้วยความยินยอมร่วมกัน” เป็น “การได้รับ สูญเสีย และเพิกถอนสัญชาติของเขมรจะถูกกำหนดโดยกฎหมาย” ซึ่งจะเปิดทางให้มีการตรากฎหมายลูกเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว

รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม โกย ริท แถลงว่า การแก้รัฐธรรมนูญจะช่วยให้รัฐบาลสามารถออกกฎหมายเพื่อเพิกถอนสัญชาติของบุคคลที่กระทำการ “ทรยศชาติ” โดยระบุว่า “ถ้าใครทรยศต่อชาติ ชาติก็จะไม่เก็บไว้” และยืนยันว่าจะเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อรัฐสภาในเร็ว ๆ นี้

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จุดชนวนความกังวลจากองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและนานาชาติ โดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์เตือนว่า การเพิกถอนสัญชาติถือเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และอาจนำไปสู่การทำให้บุคคลกลายเป็น “ไร้สัญชาติ” โดย มอนต์เซ เฟร์เรร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยประจำภูมิภาคของแอมเนสตี้ ระบุว่า “เรากังวลอย่างยิ่งว่าอำนาจนี้จะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปิดปากผู้วิจารณ์รัฐบาล”

รายงานจาก AFP ระบุว่า การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมีขึ้นภายหลังอดีตนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน บิดาของฮุน มาเนต เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อตอบโต้กลุ่มฝ่ายค้านในต่างประเทศที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในประเด็นข้อพิพาทชายแดนระหว่างกัมพูชา-ไทย

แม้ทางการจะย้ำว่าบุคคลที่ไม่กระทำความผิดฐาน “ทรยศชาติ” จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกฎหมายนี้ แต่อดีตที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชามักถูกวิจารณ์ว่ามีแนวโน้มใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและนักเคลื่อนไหว

ตัวอย่างเช่น นาย เขม สกคา แกนนำฝ่ายค้าน ถูกตัดสินจำคุก 27 ปีเมื่อปี 2023 ในข้อหากบฏ และถูกควบคุมตัวภายในบ้านในทันที ทั้งที่เจ้าตัวยืนกรานปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

ในระดับสากล การเพิกถอนสัญชาติด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงหรือการทรยศถือว่าอ่อนไหว โดยเฉพาะในยุโรป แม้จะมี 15 ประเทศในสหภาพยุโรปที่มีกฎหมายลักษณะคล้ายกัน แต่ส่วนใหญ่จำกัดการบังคับใช้กับผู้ที่ได้รับสัญชาติจากการโอน ไม่ใช่ผู้ที่เป็นพลเมืองโดยกำเนิด

การแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้อาจส่งผลต่อทิศทางสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาในระยะยาว และยังต้องจับตากฎหมายลูกที่จะตามมาอย่างใกล้ชิด.

 

ข่าวทีน่าสนใจ

หวานสุดๆ โบว์-อาเล็ก แลกแสื้อแทนใจ จะไม่ได้เจอกันนานถึง 2 เดือน

อบอุ่นหัวใจ! ประณัย พรประภา สามีแต้ว ณฐพร แชร์โมเมนต์ครอบครัวพร้อมหน้าช่วยกันทำอาหารในวันหยุดสุดสัปดาห์

by TVPOOL ONLINE