เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

 

เมื่อธนบัตรถูกใช้เปลี่ยนมือหลายครั้งหลายหน ย่อมมีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เปรอะเปื้อน สีซีดจาง หรือเปื่อยขาดจนบางส่วนหลุดหายไป หรือในบางกรณีอาจถูกสัตว์หรือแมลง เช่น หนู ปลวก กัดแทะจนเนื้อธนบัตรหลุดลุ่ยเสียหายกลายเป็นธนบัตรชำรุดที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ตามปกติ

พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ มาตรา ๑๘ บัญญัติไว้ว่า ธนบัตรชำรุดไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และได้จำแนกลักษณะของธนบัตรชำรุดเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

1) ธนบัตรครึ่งฉบับ คือ ธนบัตรที่ถูกแยกตรงกลางหรือใกล้กับกลางเป็นสองส่วนตามยืนเท่านั้น

2) ธนบัตรต่อท่อนผิด คือ ธนบัตรซึ่งมีส่วนของธนบัตรฉบับอื่นมาต่อเข้าเป็นฉบับเดียวกัน

3) ธนบัตรขาดวิ่น คือ ธนบัตรซึ่งมีส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายไป

4) ธนบัตรลบเลือน คือ ธนบัตรที่มีเหตุทำให้อ่านข้อความหรือตัวเลขไม่ได้ความ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการแ​ลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดไว้  ดังนี้

ข้อ 1 ผู้ใดประสงค์จะขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด ให้ทำคำร้องเป็นหนังสือตามแบบ ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย โดยแนบธนบัตรชำรุดไปกับคำร้องด้วย
ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย เห็นสมควรจะรับธนบัตรชำรุดไว้แลกเปลี่ยน โดยมิต้องให้ผู้ประสงค์จะขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดทำคำร้องเป็นหนังสือดังกล่าวในวรรคหนึ่งก็ได้

ข้อ 2 ให้รับแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดตามข้อจำกัดและหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
– ธนบัตรครึ่งฉบับ ให้รับแลกเปลี่ยนแต่ละครึ่งฉบับเพียงครึ่งราคาของราคาเต็มของธนบัตรนั้น
​- ธนบัตรต่อท่อนผิด ถ้าไม่เกินสองท่อน แต่ละท่อนเป็นธนบัตรแบบและชนิดราคาเดียวกัน ให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น
– ธนบัตรขาดวิ่น ให้รับแลกเปลี่ยนเฉพาะเมื่อเห็นได้ประจักษ์ว่าส่วนที่เหลืออยู่มีมากกว่าครึ่งฉบับ ให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น
– ธนบัตรลบเลือน ให้รับแลกเปลี่ยนเฉพาะเมื่อการลบเลือนนั้น ไม่ถึงทำให้ไม่รู้ได้ว่าเป็นธนบัตรแท้จริง โดยให้รับเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น

 

 

ขอบคุณ วิถีชีวิตพื้นบ้าน ข่าวสารบ้านเฮา

ข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย