เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เรียกได้ว่าวันนี้ที่รอคอยของแท้ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) หรือที่รู้จักกันในนาม “พระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม” ส่งผลให้คู่รักทุกเพศสามารถเข้าถึงสิทธิในการจดทะเบียนสมรสได้อย่างเท่าเทียมกันเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

โมเมนต์ละลายใจ! “กัน อรรถพันธ์” อวยพร “ออฟ จุมพล” พร้อมปล่อยภาพคู่สุดหวานฉลองวันเกิด

โบว์เมลดา สร้างรอยยิ้มให้ อาเล็กธีรเดช ละลายใจแฟนคลับไปทั้งไอจี! คลิปดินเนอร์สุดหวานชื่น

ไฮไลท์สำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่:

1. การปรับเปลี่ยนคำเรียก: จากเดิมที่ใช้คำว่า “ชาย” และ “หญิง” ได้เปลี่ยนเป็น “บุคคล” เพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายทางเพศ และคำว่า “สามี” และ “ภริยา” ได้เปลี่ยนเป็น “คู่สมรส” เพื่อให้ครอบคลุมคู่รักทุกเพศ

2.ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ง่ายขึ้น: กระบวนการจดทะเบียนสมรสได้รับการปรับปรุงให้มีความสะดวก รวดเร็ว และเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำกัดเพศของคู่สมรส

3.สิทธิและหน้าที่ของคู่สมรส: คู่สมรสทุกคู่จะมีสิทธิและหน้าที่ที่เท่าเทียมกันตามกฎหมาย เช่น สิทธิในการรับมรดก สิทธิในการดูแลบุตรร่วมกัน และสิทธิในการตัดสินใจทางการแพทย์ให้แก่กันและกัน

“ข้อ 22 เมื่อมีผู้ร้องขอจดทะเบียนการหย่าโดยนำสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุด และหนังสือรับรองที่แสดงว่าคดีถึงที่สุด เว้นแต่กรณีสำเนาคำพิพากษาของศาลฎีกาไม่ต้องมีหนังสือรับรองที่แสดงว่าคดีถึงที่สุด ซึ่งมีรายละเอียดว่าให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน ให้นายทะเบียนดำเนินการ ดังนี้

 

(1) ตรวจสอบคำร้อง หลักฐานตามข้อ 8 ของผู้ร้อง สำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดและหนังสือรับรองที่แสดงว่าคดีถึงที่สุด เว้นแต่กรณีสำเนาคำพิพากษาของศาลฎีกาไม่ต้องมีหนังสือรับรองที่แสดงว่าคดีถึงที่สุด

 

(2) ลงรายการของคู่หย่าในทะเบียนการหย่า (คร.6) และใบสำคัญการหย่า (คร.7) ให้ครบถ้วน

 

(3) บันทึกข้อความลงในช่องบันทึกของทะเบียนการหย่า (คร.6) ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับศาล เลขที่คดี วัน เดือน ปี ที่พิพากษา และสาระสำคัญของคำพิพากษานั้น

 

(4) ดำเนินการตามข้อ 20 (3) (4) (5) และ (6) สำหรับในกรณีที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องเพียงฝ่ายเดียวให้เก็บรักษาใบสำคัญการหย่า (คร.7) ฉบับที่เหลือไว้ แล้วแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งมารับไป”

 

ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของข้อ 35 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541

“ทะเบียนฐานะของกริยา (คร.20) ให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้”

 

ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 50 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

“ข้อ 50 ทะเบียนครอบครัวให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ท้ายระเบียบนี้ ดังนี้

(1) คร.2 ทะเบียนสมรส

(2) คร.3 ใบสำคัญการสมรส

(3) คร.6 ทะเบียนการหย่า

(4) คร.7 ใบสำคัญการหย่า

(5) คร.11 ทะเบียนรับรองบุตร

(6) คร.14 ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

(7) คร.17 ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

(8) คร.22 ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว

(9) คร.31 ใบบันทึกต่อ”

 

ข้อ 7 บรรดาบทบัญญัติใดแห่งระเบียบนี้ หรือบทบัญญัติใดที่ออกตามระเบียบนี้ ที่อ้างถึง ชาย หญิง ให้ถือว่าอ้างถึงบุคคล และกรณีที่อ้างถึงสามี ภริยา ให้ถือว่าอ้างถึงคู่สมรส ความในวรรคหนึ่งมีให้นำมาใช้บังคับกับบทบัญญัติในหมวด 7 การบันทึกฐานะของภริยา

ประกาศ ณ วันที่ 6 ม.ค.2568

อนุทิน ชาญวีรกูล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

by TVPOOL ONLINE