เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

 

ยอมรับว่าอาการปวดใจเป็นเรื่องปกติ. เนื้อเพลงเก่าได้บอกไว้ว่า “อกหักมันยาก” จริงของเขานั่นแหละ นักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าความรู้สึกโดนทิ้งที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์จะไปกระตุ้นบางส่วนของสมองในลักษณะเดียวกับความเจ็บปวดทางร่างกายทีเดียว เลิกกับแฟนนั้นเจ็บปวดจริงและการมีความรู้สึกแย่ๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดา

  • นักจิตวิทยาได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ 98% ล้วนเจอประสบการณ์ ไม่ได้รับความรักตอบในแบบใดแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น แอบปิ๊งเขาข้างเดียวหรือเลิกแบบจบไม่สวย การตระหนักได้ว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวในโลกที่เจอเรื่องนี้อาจไม่ช่วยสมานแผลใจแต่คงทำให้ยอมรับความเจ็บปวดได้ง่ายขึ้นบ้าง
  1. เขียนบรรยายความรู้สึก. เขียนระบายความรู้สึกดีกว่าแสร้งปล่อยไว้ให้อัดอั้นตันใจเปล่าๆ การเขียนช่วยให้คุณยอมรับว่ากำลังเจ็บปวด แต่ก็จะไม่เป็นแบบนี้ตลอดไปหรอก  การบันทึกอารมณ์ความรู้สึกอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาจะช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกตัวเองมากขึ้น ก้าวแรกในการรับมือกับความโดดเดี่ยวหลังเลิกกันแฟนคือใช้เวลาสะท้อน สำรวจความคิดตัวเองให้ดี

    • ใช้เวลา 20 นาทีเพื่อผ่อนคลายและเขียนความรู้สึกนึกคิดจากก้นบึ้งของหัวใจถึงความสัมพันธ์นี้เป็นเวลาติดต่อกันสัก 3 วัน ใคร่ครวญถึงประสบการณ์ต่างๆ ตอนยังคบกันอยู่ ความรู้สึกหลังเลิกหรือความกังวลว่าไม่ได้คบกันแล้ว
    • เหตุผลหลักของการเลิกกันมีหลายประการรวมไปถึง การขาดอิสระ ไม่เปิดใจต่อกัน หรือความสัมพันธ์ไม่ตื่นเต้น หวานฉ่ำเหมือน “ต้องมนต์” แล้ว
    • ระบายออกมา. อย่าแสร้งว่าไม่เป็นไร การปฏิเสธหรือพยายามข่มความรู้สึกเช่น โกหกตัวเองว่า “ไม่เป็นไรจริงๆ” หรือ “อกหักเรื่องเล็ก” อาจทำให้อาการแย่ขึ้นในระยะยาว คิดทบทวนความรู้สึกตัวเองให้ดีจะได้ตัดใจได้สักที

      • อยากร้องไห้ก็ร้องไป การร้องไห้สามารถช่วยเยียวยาความรู้สึกแย่ๆ ได้จริง อีกทั้งยังช่วยลดความเครียด ความกังวลใจและความโกรธ รออะไรอยู่ เอาเลย หากคิดว่าร้องแล้วช่วยได้ก็คว้าทิชชู่แล้วร้องออกมาให้หมด
      • แสดงความรู้สึกอย่างสร้างสรรค์ผ่านศิลปะหรือดนตรี ลองแต่งเพลงจากความรู้สึกหรือเปิดเพลงที่ทำให้คุณสบายใจ วาดรูปที่สื่อถึงสภาพจิตใจของคุณในตอนนี้ ข้อห้ามอย่างเดียวคือหลีกเลี่ยงเพลงที่เศร้าหรือสื่อถึงความโกรธแค้นมากจนเกินไป (เช่น เพลงเมทัล) ซึ่งอาจไปกระตุ้นความรู้สึกของคุณให้เศร้าและโกรธมากขึ้นไป อีก
      • คุณอาจรู้สึกอยากระบายด้วยการ ต่อยอะไรสักอย่าง เขวี้ยงของให้แตก กรี๊ดให้สุดเสียงหรือตะโกน แต่ถ้าเลี่ยงได้ก็อย่าเลย ผลการวิจัยพบว่า การระบายอารมณ์ด้วยความรุนแรง แม้ว่าจะกระทำกับสิ่งไม่มีชีวิตเช่นหมอนก็สามารถทำให้คุณรู้สึกโกรธมากขึ้นได้ เพื่อที่จะระบายความโกรธอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพจิต ให้เล่าความรู้สึกเหล่านี้กับตัวเองหรือคนที่รักแทน
      • การระบายความรู้สึกจะง่ายขึ้นกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่คุณไว้ใจ หาใครสักคนที่พร้อมจะให้เราซบบ่าร้องไห้ได้อย่างสบายใจ พวกเขาคงเคยมาปรึกษาคุณบ้างเหมือนกัน ตอนนี้ก็เป็นตาเขาแล้วที่จะตอบแทนคุณขณะเขียน อย่ากังวลเรื่องไวยากรณ์หรือการสะกดคำ คุณเขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเพื่อให้ตัวเองอ่านเท่านั้น
  2. พิจารณาสิ่งที่เขียน. บันทึกความรู้สึกเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น ขั้นต่อไปให้มองย้อนกลับไปถึงสิ่งที่คุณได้เขียนและพยายามหาเหตุผลว่าทำไมคุณจึงรู้สึกอย่างที่เป็นอยู่ การพิจารณาความรู้สึกอย่างรอบคอบช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นและยังทำให้เห็นความบิดเบือนต่างๆ ที่อาจไม่ยุติธรรมต่อตัวเอง

    • มองหา ประโยคที่สรุปสถานการณ์แบบเหมารวม โทษตัวเอง หรือแสดงความเชื่อว่าเยียวยาสถานการณ์ไม่ได้ งานวิจัยพบว่าความคิดเหล่านี้นำไปสู่อาการซึมเศร้าหลังอกหักอีกทั้งยังทำให้ผ่านปัญหาลำบากขึ้น
    • ประโยคที่สรุปสถานการณ์แบบเหมารวม เช่น “การเลิกครั้งนี้จะทำให้ชีวิตพัง” ก็เป็นไปได้ที่จะรู้สึกเช่นนั้น แต่มันอาจไม่จริงอย่างที่รู้สึกเสมอไป ลองเปลี่ยนคำพูดให้แคบมากขึ้น “อกหักครั้งนี้เจ็บมาก แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิต
    • ประโยคเน้นแต่จะโทษตัวเอง เช่น “นี่เป็นความผิดของฉัน” หรือ “ถ้าฉันไม่ทำแบบนั้น เราก็อาจไม่ต้องเลิกกัน” จำให้ขึ้นใจว่า ความสัมพันธ์เป็นเรื่องของคนสองคน โอกาสที่ความผิดจะตกอยู่กับฝ่ายเดียว 100% เป็นไปได้ยากมาก โดยทั่วไปแล้วคนเราเลิกกันเพราะว่าไม่ลงรอยกัน ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำตัว “แย่” หรือ “พลาด” บอกตัวเองว่า “ความสัมพันธ์นี้ไปไม่รอดเพราะเราไม่เหมาะสมกัน ทุกคนแตกต่างกันและมีความต้องการหลากหลาย ไม่เป็นไรหรอก”
    • ประโยคที่สะท้อนความคิดว่าเยียวยาไม่ได้ “ฉันคงตัดใจจากเขา/เธอ ไม่ได้” หรือ “ไม่มีวันที่ฉันจะรู้สึกแบบนี้อีกแล้ว” เตือนตัวเองว่าความรู้สึกต่างๆ นั้นมันชั่วคราว ผู้คนเปลี่ยนแปลงได้ตลอด แผลใจก็หายได้ พยายามบอกตัวเองว่า “ฉันเจ็บมากนะตอนนี้ แต่ก็ไม่เป็นไรหรอก เพราะจะไม่เจ็บตลอดไปแน่ๆ”

    ยกตัวอย่างเช่น ความกลัวทั่วไปหลังจากเลิกกันแฟนคือตนไม่เป็นที่ต้องการหรือไม่คู่ควรแก่ความรัก มันง่ายมากที่จะรู้สึกว่าไม่มีใครต้องการคุณอีกแล้ว นี่เป็นปฏิกริยาทั่วไป แต่คุณไม่สมควรโน้มน้าวตัวเองว่ามันคือความจริง ลองมองไปรอบๆ สิ จะเห็นว่ามีคนอีกมากที่รักคุณ แม้ว่าคนที่คุณอยากให้รักที่สุดอาจไม่สนใจคุณ (หรือรักคุณในแบบที่คุณต้องการไม่ได้) ก็ตาม

  3. ย้ำตัวเองด้วยคำพูดให้กำลังใจ. อกหักอาจทำลายความมั่นใจในตัวเองไปพอควร เอาใจใส่ตัวเองด้วยการพูดว่า เราก็เป็นคนที่เจ๋งนะ มีอะไรดีๆ ไว้รอคนที่ใช่เหมือนกัน เวลาความคิดด้านลบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ผุดขึ้นมา (ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น) อย่างน้อยจะได้ต่อสู้กับมันด้วยคำพูดเหล่านี้

    • ฉันคู่ควรกับความรักและการใส่ใจ ใครก็รู้
    • ฉันรู้สึกเสียใจอยู่ แต่ก็จะเสียใจไม่นานหรอก
    • ความเจ็บปวดส่วนหนึ่งเกิดจากสารเคมีในสมองซึ่งควบคุมไม่ได้
    • ความคิดและความรู้สึกตอนนี้ไม่เป็นจริงเลย
    • ฉันรักและให้เกียรติตัวเอง
  4. เขียนคุณลักษณะที่ดีของตัวเอง. อาการอกหักอาจทำให้คุณคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ดังนั้นการนึกถึงข้อดีของเราเป็นเรื่องสำคัญมากผลการวิจัยพบว่าเมื่อคุณบอกตัวเองว่าคุณนั้นคู่ควรแก่ความรัก คุณจะรับมือกับการถูกปฏิเสธได้ดีขึ้นนึกถึงสิ่งเจ๋งๆ ดีและน่าสนใจเกี่ยวกับตัวคุณ เมื่อคุณรู้สึกแย่ ให้นึกถึงรายการเหล่านั้นทันที ว่าคุณเป็นคนน่าจดจำ

    • คิดถึงเรื่องที่คุณทำได้ (เอาเรื่องที่ไม่ต้องเอี่ยวแฟนเก่าที่เพิ่งเลิกกันไป) คุณชอบ ดิ่งพสุธา วาดรูป แต่งเพลง เต้นใช่มั้ย หรือคุณชอบ เดินไกลๆ หรือ ทำกับข้าวอร่อยๆ กิน นึกรายการทักษะของคุณออกมาเลย แล้วบอกตัวเองว่า คุณเข้มแข็งและมีความสามารถ
    • คิดดูว่าคุณชอบตัวเองตรงไหน คุณมียิ้มมัดใจใช่ไหม ตาถึงเรื่องแฟชั่นหรือเปล่า เตือนตัวเองไว้เสมอว่าคุณมีสิ่งดีมากมาย ความเห็นของคุณเท่านั้นที่คู่ควรแก่ความสนใจ
    • นึกถึงข้อดีของตัวเองที่ได้ยินจากคนอื่น เพื่อนๆ เคยชมไหมว่าคุณเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือเกื้อกูล คุณเป็นจุดเด่นของงานเลี้ยงหรือเปล่า คุณใช่คนช่างห่วงใยที่มักลุกให้คนอื่นนั่งบนรถเมล์หรือรถไฟฟ้าใต้ดินหรือไม่ เตือนตัวเองเสมอว่ามีคนเห็นคุณค่าของคุณเช่นกัน
  5. แสวงหาความช่วยเหลือ. เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนขาดอะไรไปเมื่อเลิกกัน ยื่นมือไปหาเพื่อนและคนที่คุณรักจะช่วยสมานแผลใจได้อีกทั้งยังเป็นการย้ำเตือนว่าชีวิตนี้มีคนรักเราอีกมากมาย

    • ปรึกษาเพื่อน แบ่งปันเรื่องราวกับเพื่อนๆ จะถามเกี่ยวกับประสบการณ์อกหักของคนอื่นด้วยก็ได้ เพื่อนๆ จะช่วยเหลือและให้คำแนะนำ
    • หากเพื่อนให้คำตอบหรือคำแนะนำใดๆ พยายามเปิดใจฟัง คุณไม่จำเป็นต้องทำตามคำแนะนำของเพื่อนเสมอไป แต่ให้ยอมรับความตั้งใจช่วยเหลือ หากสังเกตได้ว่าเพื่อนไม่ค่อยอยากคุยเรื่องอกหักอีกแล้ว อาจหมายความว่าคุณจมอยู่กับเรื่องนั้นมากเกินไป ให้เปลี่ยนเรื่องไปไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบของเพื่อนบ้าง
    • บางครั้งเพื่อนและคนใกล้ชิดอาจล้ำเส้นมากไปเพราะอยากช่วยตัดสินใจแทนหรือ “แก้ไข” ปัญหาของคุณ บางครั้งอาจมีการพูดไม่ดีเกี่ยวกับแฟนเก่าคุณ ซึ่งคุณอาจไม่ต้องการได้ยิน หากคนสนิทเริ่มถลำลึกไปไกลเกินพอดี ให้ขอบคุณเขาสำหรับความห่วงใยและพยายามแสดงให้เห็นว่าคุณจัดการกับปัญหาได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น หากเพื่อนอาสาจะไป “ต่อว่าแฟนเก่า” คุณอาจตอบว่า “ขอบใจนะที่อยากช่วย แต่เราจัดการปัญหานี้เองได้ อย่าทำแบบนี้เลยนะ”