เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

วันที่ 31 ม.ค.62 รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจ Weerachai Phutdhawong ระบุว่า “แชร์ให้ถึงอัศวิน….ไอเดียของ กัปตันปิยะ ตรีกาลนนท์ CEO บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด ที่ยินดีบินให้ “ฟรี” ไม่คิดค่าใช้จ่าย ขนน้ำได้เที่ยวละ 140 กก. ต่อลำ โดยเราสามารถบินเกาะหมู่หน้ากระดาน 10-20ลำ wing span 10เมตร บินห่างกันระหว่างลำข้างละ20เมตร)กินพื้นที่หน้ากระดานได้คราวละ 1,000 เมตร(1กิโล) เพื่อปล่อยละอองน้ำนาน 20นาที นั่นหมายถึงได้พื้นที่ทางยาว 40กิโลเมตร ทางกว้าง1กิโลเมตรต่อเที่ยว วันนึงบินได้ 4-5 เที่ยวสบายๆครับ”

 

ขอแค่น้ำและอุปกรณ์ใส่น้ำ และรัฐอำนวยความสะดวกด้านกฏหมายการบิน อ.อ๊อด จะร่วมบินไปพร้อมกับทีมนี้ครับ

เครื่องบินมี 47 ลำ

CEO บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด(สำนักงานใหญ่) เลขที่ 88/117 ซอยวิภาวดีรังสิต72 แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานค 10210 ติดต่อ โทร. 0-2900-4644

 

ล่าสุด นาวาอากาศโทปิยะ ตรีกาลนนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด หรือ โรงเรียนการบินกรุงเทพ (BAC) ซึ่งเป็นโรงเรียนด้านการบินเอกชนแห่งแรกในไทย ที่เปิดสอนหลักสูตรด้านการบิน ได้ติดต่อรับจากกรุงเทพมหานครแล้ว โดยช่วง 14.00 น. วันนี้ (31ม.ค.) พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร นัดทุกภาคส่วน รวมถึงจะพูดคุยกับกัปตันปิยะ CEO ของโรงเรียนการบินกรุงเทพ BAC  เพื่อที่จะปฏิบัติการนำเครื่องบินกว่า 47 ลำขึ้นบิน เพื่อฉีดละอองน้ำที่มีขนาดเล็ก ในบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล ปฏิบัติการบรรเทาวิกฤต PM 2.5 ด้วย

 

ทั้งนี้ กัปตันปิยะ ได้ส่งข้อความถึงครูโรงเรียนการบิน ดังนี้

เรียนครูการบินทุกท่านครับ

จากวิกฤต PM 2.5 ผมขออนุญาตทีมครูการบิน ทั้ง 111 ท่าน ระดมสมองกันเพื่อกอบกู้วิกฤติในครั้งนี้เท่าที่กำลังของโรงเรียนการบิน BAC เราจะทำได้นะครับ

ในเบื้องต้นผมขออนุญาตแต่งตั้งครูโชค เป็นประธานในภารกิจนี้ โดยมีครูหน่อยเป็นเลขาฯ เพื่อทำแผนให้สอดคล้องกับภารกิจนะครับ

ผมแบ่งเป็นประเด็นได้ดังนี้ครับ

  1. การวางแผนบินหมู่ซึ่งเราน่าจะบินเกาะหมู่แบบห่างๆ อาจจะห่างกันประมาณสองถึงสามช่วงปีก บินหน้ากระดานกันไป 10 ถึง 20 ลำในคราวเดียว เพื่อให้เกิดความกว้างของการปล่อยละอองน้ำจะมีพื้นที่ครอบคลุมหน้ากระดานประมาณ 1 กิโลเมตร และด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้น้ำในถัง 140-150ลิตร ซึ่งปล่อยละอองออกมาสามารถปล่อยได้ประมาณ 20 ถึง 30 นาที เราจะได้ระยะทางในการบินปล่อยละอองน้ำ 40 ถึง 50 กิโลเมตรครับ วงรอบหนึ่งจะกินพื้นที่ในการปล่อยละอองน้ำได้ถึง 50 ตารางกิโลเมตรซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นนัยยะสำคัญพอสำหรับการเก็บฝุ่นละออง
  2. การพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์การปล่อยละอองน้ำ ในเบื้องต้นเราให้ครูจูเนียร์ทำการศึกษาในเรื่องของเครื่องบินพ่นยาฆ่าแมลงในต่างประเทศ เพราะมีลักษณะการทำงานคล้ายกัน เราอาจจะดัดแปลงและขอความช่วยเหลือจากบริษัทผลิตพัดลมไอน้ำที่มีหัวฉีดละอองไอน้ำให้เกิดละอองขนาดเล็กประมาณ 0.3 ไมคอน ตามที่ ดร.วีรชัย (อาจารย์ภาคเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ให้คำแนะนำว่าละอองน้ำขนาดดังกล่าวจึงจะเป็นประโยชน์ในการจับฝุ่นละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการติดตั้งถังน้ำเพื่อให้ถูกกฎการบินนั้น กำลังวางแผนและประสานกับทางสำนักงานการบินพลเรือน อาจจะต้องนำเรียน ดร.จุฬา โดยตรงเพื่องานที่กระชับขึ้น
  3. การประสานกับบริษัทวิทยุการบิน เพื่อวางแผนเส้นทางการบินและปล่อยละอองน้ำ เรื่องนี้คงต้องรบกวนทางผู้ว่าฯกทม. ทำหนังสือร้องขอมาทางเราก่อน เราถึงจะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับบริษัทวิทยุการบิน และอาจจะต้องถึงหน่วยเกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อขออนุญาตให้ทำการบินเหนือเมืองหลวงได้ แต่อย่างน้อยเส้นทางพระรามสองที่กำลังเกิดวิกฤติหนักที่สุด เป็นเส้นทางที่เราใช้บินไปหัวหินเป็นประจำได้อยู่แล้ว อาจจะเป็นเส้นทางแรกในการทดสอบของเราโดยมีตัวชี้วัดผลได้ดีคือหลังจากเราลองปฏิบัติดูแล้ว หากค่าของฝุ่นละอองที่วัดได้จากพื้นดินลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เราจะเดินหน้าต่อกับทุกพื้นที่ในกรุงเทพต่อไปครับ