เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ละครพื้นบ้านเรื่อง สังข์ทอง อย่าง “น้องจีโน่” ชญานิน เต่าวิเศษ หลานชายของ “เอ” ไชยา มิตรชัย นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง ที่รับเป็น สังข์ทองวัยเด็ก เมื่อปี 2550

ในตอนนั้นอายุเพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป 11 ปี น้องจีโน่ ในวัย 14 ปี ยังคงความน่ารักในวัยเด็ก แต่ที่เพิ่มเติมคือความหล่อ และยังมีผลงานละครให้แฟนๆ ได้ติดตามกันอยู่เรื่อยๆ ไปชมกันเลยดีกว่า ว่าโตขึ้น น้องจีโน่ จะหล่อขนาดไหนตามไปชมกันเลย

จีโน่ มีผลงานมากมาย อาทิเช่น ละครพื้นบ้าน พ.ศ. 2550 สังข์ทอง พระสังข์ พระเอกตอนเด็ก พ.ศ. 2552 เทพสังวาลย์ แสงสุรีย์ พระเอกตอนเด็ก ปลาบู่ทอง กุมารลบ ลูกพ่อพรหมทัตและแม่เอื้อย พ.ศ. 2553 ตุ๊กตาทอง เทวฤทธิ์ พระเอกตอนเด็ก ดาบเจ็ดสีมณีเจ็ดแสง เพชรไพรวัณ / พรรณธาทิศ / พณาเวศ / พนมวรรณ ลูกพ่อเพชรชราแม่สุวรรณมาลัยและลีลาวดีมีแม่สองคน พ.ศ. 2555 เจ้าหญิงแตงอ่อน ไวยราช (ตอนเด็ก)

ผลงานละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2558 บ้านนี้ผี(ไม่)ปอบ เพิ่ม / ฟัก น้องชายของเฟิร์นและพิกุล พ.ศ. 2559 แสงเทียน สิบทิศ วัยเด็ก พ.ศ. 2560 อกธรณี ลอย บุญลือ วัยเด็ก ละครชุด ภารกิจรัก เรื่อง มือปราบเจ้าหัวใจ ไมค์ วัยเด็ก มัสยา อู๊ด วัยเด็ก พ.ศ. 2561 เส้นสนกลรัก โขง ธรรมดี วัยเด็ก

สำหรับละคร สังข์ทองที่น้องจีโน่ได้แสดงไปนั้น นับว่าเป็นกระแสดังเลยทีเดียว ละครสังข์ทอง เดิมทีนั้นเป็นบทเล่น ละครในมีมาแต่กรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตัดเรื่องสังข์ทองตอนปลาย (ตั้งแต่ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต) มาทรงพระราชนิพนธ์ให้ละครหลวงเล่น มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี

คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุด รจนาเสี่ยงพวงมาลัย ในคำนำหนังสือ”พระราชนิพจน์บทละครเรื่องสังข์ทอง” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวไว้ว่า

นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามนต์ ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไมห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตกก็อ้างว่า เมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า สังข์ทองเป็นเรื่องที่ได้มาจากสุวัณสังขชาดก เป็นหนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ เป็นนิทานพื้นบ้านในภาคเหนือและภาคใต้โดยที่สถานที่ที่กล่าวถึงเนื้อเรื่องในสังข์ทอง กล่าวคือเล่ากันว่า

เมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามนต์ อยู่ในบริเวณใกล้วัดมหาธาตุเนื่องจากมีลานหินเป็นสนามตีคลีของพระสังข์
ส่วนในภาคใต้ เชื่อว่าเมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า “เขาขมังม้า” เนื่องจากเมื่อพระสังข์ตีคลีชนะได้ขี่ม้าข้ามภูเขานั้นไป

ส่วนเรื่องย่อมีอยู่ว่า ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวี มีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวี ไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร ต่อมานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมาเป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์ นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อ จึงเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง

ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์ท้าวยศวิมลและยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ ๑๕ ปี

วันหนึ่งนางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง และได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง ไม้พลอง และพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ เมื่อพบเข้ากับโครงกระดูก จึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะ กับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป

เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไป ก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมา แต่พระสังข์ไม่ยอม นางพันธุรัตเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหิน ก่อนที่นางจะอกแตกตาย พระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้ และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป

พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครอง ท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคนเดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะ จึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก เนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ