เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลใช้ เครื่องเอคโม (ECMO) ในการช่วยเหลือเธอระหว่างการเคลื่อนย้าย “น้ำตาล” จากโรงพยาบาลสมุทรสาครมาที่โรงพยาบาลศิริราช เครื่องนี้ยังเคยถูกใช้ตอนพยายามช่วยชีวิต “หนุ่มปอ-ทฤษฎี สหวงษ์” มาก่อนอีกด้วย ใครที่ยังไม่รู้ว่าเครื่องเอคโมทำหน้าที่อะไร มีความสำคัญอย่างไร จึงรวบรวมข้อมูลมาฝากกัน

เครื่องเอคโม (ECMO) คืออะไร?

เครื่องเอคโม (ECMO: Extracorporeal Membrane Oxygenation) คือ เครื่องที่ช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ และปอด ในสภาวะที่หัวใจ และปอดของผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่ทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือเกิดความผิดปกติขึ้น โดยหลักการของเครื่องเอคโม ไม่ได้เป็นการรักษาหัวใจ และปอดให้ทำงานได้ตามปกติ แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำงานแทนหัวใจ และปอด ให้หัวใจ และปอดได้พักผ่อนหลังพยายามทำงานมาอย่างหนักเท่านั้นเครื่องเอคโม ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

เครื่องเอคโม อาจเรียกได้สั้นๆ ว่าเป็นหัวใจ และปอดเทียม เพราะทำหน้าที่เหมือนหัวใจ และปอดของเรา เช่น เอาเลือดออกมาแลกเปลี่ยนอากาศนอกร่างกาย เอาออกซิเจนเข้าไป เอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา

เครื่องเอคโม ใช้ในกรณีใด?

เครื่องเอคโมจะถูกนำออกมาใช้ในกรณีที่หัวใจ และปอดล้มเหลว อาจจะมีสาเหตุมาจากเลือดเข้าไปอุดหลอดลมทั้งสองข้าง ทำให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้ จนทำให้หัวใจไม่มีออกซิเจน และหยุดเต้น หรืออาจเป็นกรณีที่หัวใจของผู้ป่วยทำงานหนักเกินไปจนไม่สามารถใช้ยากระตุ้นหัวใจได้


วิธีการใช้เครื่องเอคโม

คร่าวๆ แพทย์จะใส่สายสวนหลอดเลือดขนาดใหญ่เข้าสู่หลอดเลือดดำใหญ่ ซึ่งมักเป็นหลอดเลือดดำที่โคนขา เพื่อดูดเลือดออกไปเข้ากระบวนการเติมออกซิเจน และขับคาร์บอนไดออกไซด์ และจะส่งเลือดดีกลับเข้าไปในหลอดเลือดดำใหญ่ที่คอ หรือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ขา

เครื่องเอคโม ใช้ชั่วคราวเท่านั้น

เครื่องเอคโมเป็นเครื่องที่ช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ และปอดเพียงชั่วคราว แม้ว่าจะสามารถใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้เป็นสัปดาห์ แต่จริงๆ แล้วเป็นการช่วยพยุงร่างกายของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย เพื่อรอให้แพทย์เฉพาะทางทำการรักษาอย่างจำเพาะเจาะจงอีกครั้ง

ผู้ป่วยที่ไม่ควรใช้ ECMO

ผู้ป่วยที่มีอวัยวะที่เสียหายมากจนไม่สามารถกู้คืนได้ รวมถึงอวัยวะล้มเหลวหลายจุด มักจะไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ ECMO และโดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่สารกันเลือดแข็งตัวไว้

การรักษาด้วย ECMO ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่แนะนำให้มีผู้เชี่ยวชาญ ECMO คอยให้ข้อบ่งชี้ข้อห้ามในแต่ละกรณี

ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องเอคโม

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องใส่สารกันเลือดแข็งตัวอย่างต่อเนื่อง และผู้ป่วยมากกว่า 50% จะต้องเจอกับอาการตกเลือด
  • การอุดตันในวงจร ECMO สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องสูบหรือเครื่องให้ออกซิเจน (Oxygenator) ใน VA – ECMO สามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองหรือ Leg Ischemia (ขาขาดเลือด)
  • การจัดการเรื่อง ECMO จะรวมถึงการตรวจสอบเลือดเพื่อหาความสมดุลของเลือดที่แข็งตัวที่ดีที่สุด
  • ภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อ
  • หากวงจร ECMO ล้มเหลวหรือแตกอาจนำไปสู่ภาวะโรคหัวใจที่ร้ายแรง แต่เป็นเรื่องที่ไม่ปกติตราบใดที่ทุกองค์ประกอบมีความปลอดภัย
  • ท่อพลาสติกต่อจากเครื่องกับร่างกายของผู้ป่วยสามารถเป็นปัญหาได้หากหลุดหรืออยู่ในจุดที่ผิด จะมีผลต่อการไหลเวียนเลือดและประสิทธิภาพ ECMO

การใช้เครื่องเอคโมจำเป็นต้องมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และมีความรู้ ประสบการณ์ในการใช้งานเครื่องนี้ปเ็นอย่างดี และระหว่างการใช้งานควรมีพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของวงจร ECMO อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหา และตอบสนองทันทีในกรณีล้มเหลวเฉียบพลัน