เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

แฟนๆต่างตกใจกันเป็นอย่างมาก เมื่อแก้มบุ๋ม ปรียาดา สิทธาไชย นางร้ายหน้าหวาน ต้องเข้าโรงพยาบาลกะทันหันเนื่องจากถุงซีสต์แตก มีเลือดออกในช่องท้อง โดยผู้จัดการส่วนตัวได้โพสต์ภาพและเขียนข้อความผ่านไอจีของดาราสาว เพื่อไม่ให้แฟนคลับเป็นห่วง ตอนนี้ผ่าตัดเป็นที่เรียบรอยแล้ว ยังต้องให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไปก่อน

ผู้จัดการส่วนตัว ได้มาโพสต์เรื่องราวการเข้าโรงพยาบาลแบบด่วนๆของแก้มบุ๋ม ระข้อความระบุว่า “ตอนนี้ ชีแก้มบุ๋ม ป่วย เข้าโรงพยาบาลกะทันหัน เนื่องจาก ถุงซีสแตกเลือดออกในช่องท้องเยอะมากแต่ได้รับการผ่าตัดนำเลือดออกเป็นที่เรียบร้อย สถานการณ์ตอนนี้ปลอดภัยดี แต่อาจจะต้องอยู่ในความดูแลใกล้ชิดของหมอ และห้ามเคลื่อนย้ายตัวเองอย่างน้อย 4 วัน นางเลยฝากแจ้งว่าอาจจะไม่ได้ตอบข้อความทุกช่องทางถ้าอาการดีขึ้น จะรีบทยอยตอบค่ะ ไอคิว”

หลังจากเรื่องราวดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ออกไปในโลกโซเชียล ทำแฟนๆต่างเข้ามาคอมเม้นต์แสดงความเป็นห่วงและขอให้หายไวๆกันเป็นจำนวนมาก

หากพูดถึง “ซีสต์” ก็อาจทำให้คนหลายคนขวัญผวาเอาได้ เพราะกลัวว่าอาจเกิดการพัฒนากลายไปเป็นมะเร็งร้าย แต่อย่าเพิ่งกังวลไป ซีสต์ เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกายก็จริง แต่ก็ไม่เป็นอันตรายเท่ากับมะเร็ง และมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้น้อย ว่าแต่ซีสต์คืออะไร หากเป็นแล้วต้องจัดการอย่างไร มาทำความรู้จักกับซีสต์กันเถอะ

ซีสต์คืออะไร

ซีสต์ (Cyst) หมายถึง ถุงน้ำ หรือก้อนตุ่มที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติภายในร่างกาย โดยก้อนที่โตขึ้นมานั้น ภายในอาจมีสิ่งแปลกปลอมได้หลายอย่าง อาทิเช่น อากาศ ของเหลว ไขมัน หรือเซลล์ผิวหนังเช่นกระดูก เซลล์ผม เล็บ หรือมักเป็นเนื้องอกที่ไม่ร้ายแรง

ซีสต์เกิดที่ใดได้บ้าง

ซีสต์สามรถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนตามเนื้อเยื้อของร่างกาย บริเวณที่พบบ่อย เช่น ที่เต้านม เปลือกตา รังไข่ นิ้วมือ แขน ขา ไต และใต้ผิวหนังส่วนต่าง ๆ บางประเภทสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือจะมีก้อนตุ่มนูนขึ้นที่ผิวหนัง บางประเภทต้องคลำดูถึงจะสังเกตเห็น หรือบางประเภทอาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ เนื่องจากอยู่ภายในร่างกาย ซีสต์มีหลายชนิด ประเภทที่สามารถพบได้บ่อยมีดังนี้

  • ชอคโกแล็ตซีสต์ (Chocolate cyst หรือ Endometriosis) คือ ซีสต์ที่เกิดจากการที่มีประจำเดือนบางส่วนไหลออกไม่หมด มีการไหลกลับเข้าไปคั่งค้างอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเช่น มดลูก นอกมดลูก หรือรังไข่ จนเกิดเป็นถุงมาหุ้มไว้ แน่นอนว่าภายในถุงนั้น คือเยื่อบุมดลูกหรือก็คือประจำเดือนเก่า ซึ่งมีสีน้ำตาลคล้ายคล้ายชอคโกแล็ต
  • เดอร์มอยด์ซีสต์ (Dermoid cyst) เกิดจากเซลล์ผิวหนังที่จัดวางอยู่ผิดตำแหน่งตั้ง ชนิดนี้มีส่วนประกอบเหมือนผิวหนังมากที่สุด จึงมักพบเส้นผม เล็บ กระดูก ไขมันอยู่ภายใน สามารถพบได้ในเด็ก หากพบซีสต์ชนิดนี้มักนิยมผ่าตัดออกเพื่อลดโอกาสการเติบโต
  • ฟังชันนัลซีสต์ (Functional cyst) คือ ซีสต์ที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปภายในร่างกาย แต่มันสามารถยุบฝ่อหายไปเองได้ เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโต
  • กุ้งยิงเรื้อรัง (Chalazia) กุ้งยิง คือก้อนซีสต์ชนิดหนึ่งที่ขึ้นบริเวณเปลือกตา โดยเกิดจากท่อของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตาอุดตัน ผู้ป่วยจะเจ็บตึงและปวดบวมแผล หากซีสต์มีขนาดใหญ่มากอาจะต้องป่าออก ไม่เช่นนั้นจะมีอุปสรรค์ต่อการมองเห็น
  • ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Epidermoid Cysts)  เป็นซีสต์ที่พบได้บ่อย เกิดได้ทุกเพศทุกวัย และทุกส่วนของร่างกาย เป็นก้อนซีสต์ที่เราสามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก เพราะจะมีลักษณะปุดโปนตามผิวหนัง อย่างเช่นใบหน้า ลำคอ หน้าอก และหลังส่วนบน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากต่อมไขมันที่สร้างน้ำมันมาหล่อเลี้ยงได้รับความเสียหาย

ซีสต์จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้หรือไม่

คำถามยอดฮิตกับความกังวลของใครหลายคนว่า “เมื่อซีสต์เกิดขึ้นแล้วจะพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้หรือไม่” คำตอบคือ “มี … แต่น้อยมาก” ซีสต์มีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งได้ก็จริง แต่จากสถิติทางการแพทย์ พบว่าผู้ป่วยมะเร็งที่พัฒนามาจากซีสต์นั้นมีน้อยมาก ๆ สำหรับใครที่พบว่าตนเองเป็นซีสต์ จึงไม่ต้องเป็นกังวล เพราะซีสต์มีอันตรายน้อยมาก บางประเภทสามารถปล่อยไว้ได้ บางประเภทสามารถรักษาให้หายไป หรือถ้าหากเป็นอันตรายก็เพียงทำการผ่าตัดออกก็จะหายได้เป็นปกติ

อาการของผู้ป่วยที่เป็นซีสต์

ซีสต์มีหลายประเภท อาการที่อาจเกิดขึ้นจึงมีหลากหลายเช่นกัน หากเป็นซีสต์ที่เป็นเพียงถุงน้ำที่เกิดตามผิวหนังหรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ซึ่งซีสต์เหล่านี้ อาจจะขยายขนาดโตมากขึ้นตามวันเวลา ฝ่อไปตามกาลเวลา หรือไม่ก็อาจจะมีขนาดเท่าเดิมก็ได้เช่นกัน

ส่วนซีสต์ที่ขึ้นภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนไปรบกวนระบบการทำงานส่วนอื่น ตัวอย่างเช่น ช๊อกโกแลตซีสต์ที่พบได้ในผู้หญิง ลักษณะเช่นนี้คือทำให้เกิดความทรมาน มีอาการปวดมากกว่าการปวดประจำเดือน จึงต้องทำการผ่าตัดออก

การรักษาซีสต์

การรักษาซีสต์แต่ละประเภท แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและหาทางรักษาที่เหมาะสม ว่าซีสต์ลักษณะใดที่สามารถทิ้งไว้ได้ ชนิดใดที่สามารถกินยาให้มันฝ่อหายไปได้ หรือซีสต์ชนิดใดที่ต้องทำการผ่าตัดรักษา การรักษาซีสต์ประเภทที่ความเสี่ยง สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • เจาะเอาของเหลวหรือสารที่อยู่ภายในซีสต์ออก
  • ฉีดยาหรือรับการให้ยาเพื่อลดอาการเนื้องอกของซีสต์ หรือทำให้ซีสต์ฝ่อ
  • ผ่าตัดเอาซีสต์ออก กรณีที่เป็นอันตรายต่อระบบการทำงานภายใน

การป้องกันซีสต์

เป็นเรื่องยากที่จะระบุเจาะจงถึงการหาวิธีป้องกันการเกิดซีสต์ได้อย่างชัดเจน เพราะอย่างที่เราทราบกันแล้วว่าซีสต์มีหลายประเภทและมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป บางชนิดที่ป้องกันได้โดยเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงให้เกิดซีสต์ในบริเวณต่าง ๆ ตามร่างกาย

สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือใส่ใจในการทานอาหารและให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย ถึงจะเป็นการดูแลตนเองขั้นพื้นฐาน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ดีที่สุด หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี หากพบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ก็จะช่วยรักษาได้ทันท่วงที