จากกรณี ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ ป่วยด้วยอาการหินปูนในหูหลุด จนทำให้เกิดอาการบ้านหมุน เครียดกลัวมากจะเป็นโรคนี้ไม่หายโดยทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวด้วยความวิตกว่า ใครเคยเป็นบ้านหมุน/หินปูนในหูหลุดแล้วผ่าตัดบ้างคะ???มีมั้ยคะ?:) #บ้านหมุนติ้วๆ ล่าสุดเจ้าตัวบอกด้วยว่า“สิ่งที่กลัวมากที่สุดตอนนี้ คือกลัวเป็นโรคนี้ไม่หาย แล้วจะกระทบกับงาน เครียดเรื่องนี้สุดแล้วตอนนี้“ มีเพื่อนๆ และแฟนๆ แสดงความเป็นห่วง และเข้ามาให้คำแนะนำมากมาย โดยเหล่าเเฟนคลับได้เป็นห่วงหลังจากที่ นางเอกสาว ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ ป่วยด้วยอาการหินปูนในหูหลุด จนทำให้เกิดอาการบ้านหมุน เครียดกลัวมากจะเป็นโรคนี้ไม่หาย โดยนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ และ โฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยกับทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์ เกี่ยวกับรายละเอียดของอาการ “หินปูนในหูหลุด” หรือ “โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด”ว่า สาเหตุ
ปกติ ภายในหูชั้นในมีอวัยวะควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ซึ่งอวัยวะควบคุมการทรงตัว จะมีตะกอนหินปูน เคลื่อนไปมาแต่ไม่หลุด และเมื่อมีสาเหตุบางประการทำให้ตะกอนหินปูนดังกล่าวหลุด ตะกอนหินปูนก็จะ เคลื่อนที่ไปมา และกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะแบบหมุนขึ้นมาได้
โดยสาเหตุที่ทำให้ตะกอนหินปูนหลุดนั้น มาจากปัจจัยหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น
– การเคลื่อนไหวศีรษะซ้ำๆ เช่น การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจำเป็นต้องก้มๆ เงยๆ อยู่บ่อยครั้ง
– เกิดอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ
– การติดเชื้อ
– ความเสื่อมไปตามวัย
– การผ่าตัดหูชั้นกลาง หรือหูชั้นใน
อาการ
– เวียนศีรษะ บ้านหมุน รู้สึกโคลงเคลง หรือเสียการทรงตัว
– คลื่นไส้ อาเจียน
– ตากระตุก ทำให้มอง หรืออ่านไม่ชัด
– มักจะนานประมาณวินาที หรือนาที หลังมีการเคลื่อนไหว หรือมีการเปลี่ยนท่าทางของศีรษะ
หมายเหตุ : ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะไม่มีอาการหูอื้อ ไม่มีแขนขาชาหรืออ่อนแรง
การรักษา
โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการ1.รักษาด้วยยา2.การทำกายภาพบำบัด และ3.การผ่าตัด ซึ่งโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แม้แพทย์จะรักษาผู้ป่วย จนผู้ป่วยไม่มีอาการเวียนศีรษะแล้ว แต่ผู้ป่วยอาจกลับมามีอาการได้อีก ซึ่งก็สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยาและกายภาพบำบัด
วิธีป้องกันเบื้องต้น
– เวลานอน ควรหนุนหมอนสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการนอนราบ
– ตอนตื่นนอนตอนเช้า ควรลุกขึ้นจากเตียงนอนช้าๆ
– หลีกเลี่ยงการก้มเก็บสิ่งของ
– ไม่ควรออกกำลังกาย ที่มีการเคลื่อนไหวของศีรษะ หรือลำตัวมาก
– เวลานอน หลีกเลี่ยงการนอนหงาย ในท่าเงยคอ และหันไปทางหูด้านที่จะทำให้เกิดอาการ
by TVPOOL ONLINE


