เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

หมอชี้แจงสั่งของออนไลน์ เสี่ยงติดเชื้อโควิดมากน้อยแค่ไหน เผยกระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคมีหลายขั้นตอน

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีจากกรณีที่ประเทศเกาหลีใต้ พบกลุ่มแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือ โควิด-19 ใหม่จากศูนย์กระจายสินค้า และประชาชนคนไทยมีความเป็นห่วงในการสั่งสินค้าออนไลน์ ว่าจะมีการติดเชื้อจากผู้ส่งหรือไม่ ล่าสุดนี้เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 จากศูนย์จัดส่งสินค้าออนไลน์ในประเทศเกาหลีใต้ คาดว่าความกังวลของประชาชน คืออาจจะกลัวว่ามีการพบเชื้อไวรัสจากของที่สั่งมา แต่จะต้องเน้นย้ำว่ามาตรการในการป้องกันโรคมีหลายขั้นตอน

โดยสถานที่ที่ใช้จัดของส่งออก ก็ถือว่าเป็นสถานที่ทำงานที่หนึ่งเช่นกัน โดยกระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ผู้ปฏิบัติงาน หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ระบบทางเดินหายใจ บริษัทจะต้องให้พนักงานหยุดงาน 2.บริษัทต้องคัดกรองผู้ปฏิบัติงานก่อนเข้างานทุกวัน และ 3.ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยผ้าตลอดเวลาที่ทำงาน “หากถามว่าการทำ 3 มาตรการนี้แล้วจะมีผู้ที่ติดเชื้อหลุดเข้ามาในสถานที่ทำงานได้หรือไม่ ก็อาจจะมีหลุดมาบ้างแต่ไม่เยอะ และถ้าหลง หากสวมหน้าผ้าในการทำงานโอกาสที่จะมีเชื้อปนอยู่ในของที่แพ็คก็จะไม่สูงมาก และหากกังวลเมื่อของส่งมาถึงที่บ้านแล้วจะติดเชื้อ แต่ด้วยอุณหภูมิห้องของประเทศไทยโอกาสที่เชื้อจะอยู่ในสภาพแวดล้อมได้หลายหลายวันค่อนข้างน้อย โดยทั่วไปเชื้ออยู่ในอากาศ 20 เซลเซียส เชื้ออยู่ได้ 2-3 วัน” นพ.ธนรักษ์ กล่าว

หลัวจากนั้นรองอธบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า เมื่ออุณหภูมิสูงมากขึ้น เชื้อก็จะมีอายุอยู่ได้น้อยลง ของที่จะส่งมานั้นก็มีโอกาสน้อยมากๆ ที่จะติดเชื้อ และส่วนเรื่องของกล่องบรรจุ การวิจัยในต่างประเทศ พบว่าเชื้อไวรัสจะอยู่กับของที่เป็นลักษณะรูพรุน เช่น กล่องกระดาษ เสื้อผ้า มีอายุสั้นกว่าพื้นผิวเรียบ เช่น สแตนเลส ดังนั้นลักษณะภายนอกที่จัดส่งมาเกินระยะเวลา 24 ชั่วโมงแล้วนั้น โอกาสที่จะติดเชื้อไม่สูงมาก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าข้างใน แต่อย่างที่กล่าวว่า อุณหภูมิสูงโอกาสที่เชื้อจะมีชีวิตก็จะน้อยลง