เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

แหวกกฎเกณฑ์ฉีกรูปแบบลายเซ็นปกติ จนแชร์กระหน่ำบอกต่อกันในโลกออนไลน์

แทนที่จะหยักๆ ขยุ้มๆ หรือเอียงขึ้น เหมือนคนทั่วไปเซ็นกัน หากลายเซ็นนี้มีลักษณะ เส้นขีดเรียงกันนับ 10 เส้น ชาวเน็ตบางคนฉงนนึกว่าวาดรูปรางรถไฟ

559000005336302

“หลานแกบอกรางรถไฟ”

“ปากกามีเป็นโหลปะ ดูเปลืองหมึกเนอะ”

“นี่เซ็น หรือลองปากกาคะ”

และในที่สุด ก็ตามตัวเจ้าของลายเซ็นอาร์ตตัวพ่อเจอ

“ผมเป็นเจ้าของลายเซ็นนี้เองแหละ เซ็นแปลกๆ อย่างนี้มานานนมแล้ว เพิ่งรู้ว่ามีคนสนใจนำไปแชร์ทั่วโลกออนไลน์ คิดว่าคงเป็นบรรดานักศึกษาที่แปลกใจ ถ่ายไว้ก่อนเอาไปแพร่ต่อ”

‘ผม’ เจ้าของลายเซ็นสุดพิลึกนี้มีตำแหน่งเป็นถึง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งท่านได้โพสต์อธิบายว่า

“มาแรงยังกะพายุเมื่อช่วงเย็นเมื่อเพจสมาคมกวนTEEN 18+ได้เผยแพร่อภิมหาลายเซ็นต์ให้เป็นที่โด่งดังไปทั่วกาแล็กซี่ทางช้างเผือกและระบบสุริยจักรวาล

โอกาสนี้ขอเล่าให้คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายฟังเพื่อเป็นความรู้นะครับว่าจริงๆ แล้วเราจะลงลายมือชื่อ หรือเขียนชื่อ หรือเซ็นชื่ออย่างไรดี กฎหมายมีหลักอยู่ว่า ‘เราจะใช้ชื่ออะไรก็ได้’ โดยจะเขียน หรือจะเซ็น จะเขียนชื่อร้าน เขียนชื่อคนอื่น (กรณีปลอมเอกสาร) ก็ใช้ได้ หรือจะแค่ลากเส้น หรือจะเขียนด้วยตัวอักษรที่เลิกใช้ไปแล้วก็ได้ทั้งหมด

แต่เมื่อลงลายมือชื่อแล้ว ‘บุคคลนั้นจะต้องรับผิด’ (ทางกฎหมาย) เช่น ถ้าลงชื่อในสัญญาก็จะต้องรับผิดตามสัญญาจะมาบอกว่าไม่ใช่ลายมือชื่อตัวเองไม่ได้ หรือจะอ้างว่าผมชื่อตรีเนตร แต่ลายเซ็นนั้นอ่านยังไงก็ไม่เป็นว่าเป็นตรีเนตร ย่อมทำไม่ได้ หรือกรณีผมต้องการปลอมเช็คของนายประยุทธ์ ผมเลยหยิบเช็คมาแล้วเขียน (ไม่ได้เซ็น) โดยอ่านออกว่า ‘ประยุทธ’

ต่อมาเมื่อมีการฟ้องร้องตามเช็คดังกล่าวผมจะอ้างว่าไม่ใช่ลายเซ็นผม (เพราะลายเซ็นผมเหมือนกับที่แชร์อยู่นี่ไง) ย่อมทำไม่ได้ จะมาอ้างว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของผมย่อมทำไม่ด้ ทั้งนี้เพราะตามหลัก Prima facie liable “การลงลายมือชื่อจะเขียนแบบใหนก็ได้” ถ้าทำโดย “เจตนา” ก็ใช้ได้ (มีความผูกพันธ์ตามกฎหมายทั้งหมด)”

จริงๆ แล้ว ท่านลากเส้นตรงเซ็นแบบนี้มา 15 ปี ไม่ใช่ตามหมอดูแนะ หรือไสยศาสตร์ มนต์ดำใดๆ ทั้งสิ้น

“สำหรับความคิดผมนั้น ผมแค่ต้องการให้นักศึกษาเห็นว่า ‘ลายมือชื่อ’ หรือ ‘ลายเซ็น’ ไม่ว่าจะแปลกสักแค่ไหนก็คือลายมือชื่อเรา ถ้าหากมีลายเซ็นเดียวและเซ็นแบบง่ายๆ มันอันตรายนะ ยกตัวอย่างลายเซ็นที่ให้ไว้กับธนาคาร จะเซ็นกี่ครั้งกี่รอบก็เหมือนเดิม

วันใดวันหนึ่งอาจมีคนนำลายเซ็นเราไปทำตราประทับก็ได้ ไม่รู้หรอกว่าแต่ละวัน เราเซ็นชื่อในหนังสือราชการไปกี่ครั้ง วันใดเคราะห์ร้ายโดนคนคิดร้ายคัดลอกมาทำตรายาง เพื่อเอาไปใช้ประทับในเอกสารสำคัญบางอย่างแล้วมันจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการใช้ตราประทับต้องมีพยานรับรอง 2 คนก็ตามเถอะ แต่ก็ยังเสี่ยงอยู่ดี ฉะนั้นลายเซ็นต้องปลอมยาก และไม่ควรมีแบบเดียว

แนวคำพิพากษาบอกคำว่า ‘ลงลายมือชื่อ’ ไม่ว่าจะเขียนเป็นภาษาอะไร หรือจะลากเส้น หรือวาดภาพอะไรก็ได้ สาระสำคัญคือ ‘เจตนา’ ที่จะให้มันเป็นลายมือชื่อลายเซ็นของเรา ดังนั้นเราไม่ควรมีลายเซ็นเดียว ผมเลยเขียนลายเซ็นแปลกๆ ออกมาหลายลายเซ็น เพื่อป้องกันการปลอมแปลง

อีกนัยยะคือ หวังสอดแทรกแง่คิดให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วย

ไม่ว่าจะเขียนลายเซ็นแบบไหนขึ้นมา มันต้องมาจากความเป็นตัวตนของเราที่คิดกรองมาแล้ว เพราะฉะนั้นทำไมต้องเขียนให้เหมือนคนอื่น”

559000005336303

ขอบคุณภาพจาก FB: สมเนตร การช่าง สาขาสอง