เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เล่าว่า ได้ไปรับประทานอาหารญี่ปุ่นที่ร้านชื่อดัง ที่มีสาขาหลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า และสังเกตเห็นว่าปลาดิบของร้าน ทั้งปลาโอและปลาแซลมอน มีสีแดงสดผิดปกติ จึงเก็บตัวอย่างปลามาตรวจสอบดู พบว่าเมื่อนำเนื้อปลาไปแช่น้ำไม่กี่นาที มีสีละลายออกมาจากเนื้อปลาชัดเจน  ผ่านไปเพียง 5 นาที เนื้อปลากลายเป็นสีซีดขาว

559000005478501

ซึ่งแน่นอนว่า หลังจากที่โพสต์นี้เผยแพร่ไปในโลกโซเชียล ผู้คนต่างวิตกกังวลว่า มีการย้อมสีเนื้อปลาจริงหรือไม่ และจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

ด้านอาจารย์ เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว อธิบายถึงสีที่ละลายออกมาจากเนื้อปลาว่า ไม่น่าจะเป็นการย้อมสี แต่เป็นสารโปรตีนธรรมชาติที่อยู่ในเนื้อปลา หรือที่เรียกว่า มายโอโกลบิน

มายโอโกลบิน เป็นโปรตีนที่ละลายน้ำได้ดีมาก จึงไม่แปลกถ้านำเนื้อปลาสีแดงสดมาแช่น้ำ แล้วมายโอโกลบินจะละลายออกมาจนเห็นเป็นเนื้อสีขาว

ส่วนนอกจากเรื่องโปรตีนแล้ว อาจารย์เจษฎายังบอกด้วยว่า มีวิธีปรุงอาหารที่ทำให้เนื้อปลามีสีแดงขึ้น อย่างการอัดแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ แต่วิธีนี้เป็นเรื่องต้องห้ามในบางประเทศ เพราะมีคนนำไปใช้เปลี่ยนเนื้อปลาไม่สด ให้กลายมีสีแดงสดใหม่

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นางวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้รับทราบเรื่องแล้ว และจะดำเนินการตรวจสอบปลาดิบของทางร้านอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป

 

ที่มา – http://www.thairath.co.th/