เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เจ้าสัวบุญชัย ประธานกรรมการบริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

 
นาย บุญชัย เบญจรงคกุล
ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
 
หรือเจ้าสัวบุญชัย เบญจรงคกุล เป็นลูกชายคนโตของ คุณสุจินต์ และ คุณกาญจนา เบญจรงคกุล จบปริญญาตรี ด้านบริหารธุรกิจที่ Northern Illinois University สหรัฐอเมริกา แล้วมาสานต่อธุรกิจขายเครื่องมือสื่อสารของพ่อจน ‘ยูคอม’ ผงาดเป็น 1 ในบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย ต่อด้วยการทำธุรกิจโทรคมนาคม ‘ดีแทค’ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
 
เจ้าสัวบุญชัยช่วยเหลือโครงการเพื่อสังคมมากมาย เช่น สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน สำนึกรักบ้านเกิด พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA Bangkok) ปัจจุบันสมรสกับ บงกช คงมาลัย มีลูกชาย 1 คน คือน้องข้าวหอม-ชีวกิตติ์ และลูกๆ จากการแต่งงานครั้งก่อน คือ คุณศุภรัตน์ คุณบุญญาภาณิ์ คุณคณชัย คุณกัลยา และคุณเบญจามิน
เปิดขุมทรัพย์เจ้าสัวบุญชัย เบญจรงคกุลที่กำลังเป็นกระแสตอนนี้ และนักธุรกิจใหญ่ติดอันดับฟอร์บสของเมืองไทย หรือรวยอันดับ 13 ของเมืองไทย
 
ชีวิตของเจ้าสัวบุญชัย ต้องผ่านความยากลำบากมามาก และเคยมีประสบการณ์จากลูกเศรษฐีกลายเป็นคนมีหนี้สินจนเอาตัวแทบไม่รอดมาแล้ว
 
แต่ปัจจุบันใครจะไปรู้ว่าใครเป็นคนแรกที่นำเอาโทรศัพท์มือถือมาที่เมืองไทย คำตอบก็คือ “เจ้าสัวบุญชัย เบญจรงคกุล”
 
จนค่อยๆคิดเอาระบบมาเสนอองค์การโทรศัพท์ฯ ค่อยๆทำธุรกิจมาเรื่อยๆ จนเจ้าสัวบุญชัยกลายเป็นนักธุรกิจหมื่นล้าน
 
และด้วยความหลงใหลในศิลปะของเจ้าสัวบุญชัย เบญจรงคกุล ควักทุนสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยเป็นหอแสดงภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (MOCA) ขึ้นตรงถนนวิภาวดี
 
โดยใช้เงินทุนส่วนตัวถึง 2,000 ล้านบาท สร้างอาคาร 5 ชั้นบนพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร รวบรวมผลงานนับพันๆชิ้น ของศิลปินไทยและเทศมากกว่า 200 คน
 
เจ้าสัวบุญชัย เบญจรงคกุล นับว่าเป็นมหาเศรษฐีระดับประเทศอีกคน ที่ผ่านประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจ การทำธุรกิจส่วนตัวแบบล้มลุกคลุกคลานมามากมาย ถือว่าเป็นอีกคนที่ประสบความสำเร็จไม่น้อยเลยทีเดียว
 
เปิดขุมธุรกิจเจ้าสัวนักรัก“บุญชัย เบญจรงคกุล”รวยอื้อ 1.7 หมื่นล้าน  30 บริษัทโกยรายได้ปีละ 2.7 หมื่นล้าน
 
นายบุญชัย เบญจรงคกุล  ปัจจุบันถือหุ้นร่วมกับเครือญาติตระกูลเบญจรงคกุลอย่างน้อย 30 บริษัท
 
และตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนายบุญชัยเป็นกรรมการทั้งสิ้น 48 บริษัท แต่ที่ยังเปิดดำเนินการ 26 บริษัท ปัจจุบันนายบุญชัย ถือหุ้นรวม 30 บริษัท จำนวน 7,612,762 หุ้น มูลค่าหุ้นตามทุนจดทะเบียน 597,521,090 บาท
 
จากการตรวจสอบพบว่า บริษัทที่นายบุญชัยถือครองหุ้นมูลค่ามากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
 
1. บริษัท วาย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด 2,375,000 หุ้น มูลค่า 237.5 ล้านบาท
 
2.บริษัท ไพรเวท พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 1,865,000 หุ้น มูลค่า 186.5 ล้านบาท
 
3.บริษัท สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. จำกัด 678,837 หุ้น มูลค่า 67,883,700 บาท
 
4.บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด 400,000 หุ้น มูลค่า 40 ล้านบาท
 
5.บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด 1,200,000 หุ้น มูลค่า 30.6 ล้านบาท
 
บริษัทนอกกลุ่มเบญจรงคกุลที่นายบุญชัยถือหุ้น คือ
 
1.บริษัท คอสมอส แฟรนชายส์ จำกัด ร้านอาหารและร้านกาแฟและโดนัท ที่ตั้งเลขที่ 66/216 ซอยแสงทิพย์ ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
 
2.บริษัท ธนวินท์โฮลดิ้ง จำกัด 164,610 หุ้น หรือ 12,674,970 บาท นายสมพงษ์ มรรคยาธร 125,000 หุ้น 9,625,000 บาท
 
บริษัทที่บุญชัยเป็นกรรมการแต่ไม่ได้ถือหุ้น ได้แก่
 
บริษัท สินทรัพย์ปฐพี จำกัด ทุนจดทะเบียน 20 ล้าน
 
บริษัท อาร์ต แอนด์ เรียลเอสเตท เทรดดิ้ง จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท
 
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน 4,744,161,260 บาท กลุ่ม Telenor Asia Pte Ltd สัญชาติ ถือหุ้นใหญ่
 
บริษัทในกลุ่มเบญจรงคกุลที่นายบุญชัยไม่ได้ร่วมเป็นกรรมการและไม่ได้ถือหุ้น ได้แก่ บริษัท สวนไม้ไทย จำกัด สวนไม้ และ บริษัท สวนเอก นายประกอบ จิรกิติ ถือหุ้นใหญ่
 
จากการตรวจสอบพบว่าในจำนวนนี้มีหนึ่งบริษัทที่ นางสาวเบญจา บารมีย์ อดีตภรรยาร่วมถือหุ้น คือ บริษัท เบ็นนี่ แอนด์ เบ็น จำกัด จดทะเบียนวันที่ 21 กันยายน 2542 ทุน 1 ล้านบาท ประกอบธุรกิจขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต ที่ตั้งเลขที่ 287/195 ซอยรามคำแหง21 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 เมษายน 2555 นางสาวเบญจา ถือหุ้น 4,997 หุ้น (49.97%)
 
นอกจากนี้ยังพบว่า บริษัท คอสม็อซ เทเลคอม จำกัด จำหน่ายปลีกเครื่องมือในการสื่อสาร นายภูษณ ปรีย์มาโนช นายสมพงษ์ มรรคยาธร คนละ 30% นายเชสเตอร์ เดวิส อเมริกัน 20%
 
จากการตรวจสอบพบธุรกิจที่บริษัท เบญจจินดา เข้าไปถือหุ้นอย่างน้อย 3 บริษัท คือ
 
บริษัท ไวด์ แอคเซ็ส จำกัด จำนวน 120,000 หุ้น หรือ 12 ล้านบาท จากทั้งหมด 15 ล้านบาท ประกอบกิจการให้บริการออกแบบ พัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์ เว็บไซต์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และให้บริการทางอินเตอร์เน็ต บริษัท สมโพธิ์ เจแปน เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด นายหน้าประกันวินาศภัย ทุน 2 ล้านบาท นายวิชัย นายสมชาย นางวรรณา เบญจรงคกุล และ นายปะกอบ จิรกิติ ถือหุ้นรวม 29% และบริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ทุน 250 ล้านบาท บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 100%
 
ทั้งนี้ บริษัทในที่มีรายได้มากที่สุด 5 ลำดับคือ
 
บริษัท ยูไนเต็ด ดิสทริบิวชั่น บิซซิเนส จำกัด 20,316,826,975 บาท
 
บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด 2,867,490,792
 
บริษัท บีบี เทคโนโลยี จำกัด 1,416,837,803
 
บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด 848,413,039
 
บริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด 725,445,768
 
บริษัทที่มีกำไรสุทธิมากสุด 5 ลำดับ คือ
 
บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด 350,105,711 บาท
 
บริษัท ยูไนเต็ด ดิสทริบิวชั่น บิซซิเนส จำกัด 171,714,227 บาท
 
บริษัท บีบี เทคโนโลยี จำกัด 141,550,846 บาท
 
บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด 106,652,309 บาท
 
บริษัท วาย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด 89,556,760 บาท
 
จากการตรวจสอบพบว่าทั้ง 30 บริษัทมีทุนจดทะเบียนรวม 3,855,615,000 บาท ผลประกอบการในปี 2554 มีรายได้รวม 27,351,940,001 บาท กำไรสุทธิรวม 968,999,278 บาท (กำไร18 บริษัท ) สินทรัพย์รวม 17,852,415,633
 
ขอบคุณรูปภาพจาก 
 
IG : bong_kod_tak