เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

กุ๊บกิ๊บ สุมณทิพย์ คุณแม่ลูกสอง  ภรรยาของ บี้ ธรรศภาคย์ กับการดูแลลูกๆในสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงนี้ที่กลับมาระบาดอีกครั้ง

 

โดยกุ๊บกิ๊บได้เผยภาพขณะอยู่ที่สนามบิน ขณะรอกำลังจะขึ้นเครื่อง พร้อมกับลูกสาวทั้งสอง น้องเป่าเปา และลูกสาวคนเล็ก น้องเป่าเป้ย์ เรียกว่าคุณแม่คุณลูกพร้อมเดินทางมาก โดยเฉพาะน้องเป่าเป้ย์ที่แม่กุ๊บกิ๊บป้องกันให้เต็มที่ กับชุดคลุมที่เป็นพลาสติกใส พร้อมกับเขียนแคปชั่นไว้ว่า

“Vacation Begin!!! เป็นการไปเที่ยวคริสต์มาสปีใหม่ครั้งแรกที่ประสาทแดกสุดๆ 5555555 แต่ก็ไปต่อเพราะจองไปหมดแล้ว!!! ภูเก็ตจ๋า Big Family มาแล้วววววววว 10 วันยาวๆไปค๊าาาา #เอ็นดูเด็กๆเที่ยวกันแบบปลอดภัย#ไปนอน 3โรงแรม จะเที่ยว 3เกาะรอชมเลยยยยยย”

ทีวีพูลจะพามาดูการป้องกันเด็กๆหรือลูกของเราให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด 19 อันดับแรก

COVID-19 คืออะไร?

COVID-19 คือเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ มักเกิดที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบ ปวดบวม ดังนั้น เด็กก ก็จะมีอาการ

  • มีไข้ ตัวร้อน
  • เจ็บคอ
  • อาจจะมีหรือไม่มีน้ำมูก หรือคัดจมูก
  • ไอแห้งๆ ไอเยอะ ไอรุนแรงจนถึงขั้นปอดบวมและระบบหายใจล้มเหลวได้

การแพร่เชื้อและโอกาสการแพร่เชื้อ COVID-19

เชื้อ COVID-19 จะติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ไอ จาม การไอหรือจามที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จะมีการแพร่กระจายของเชื้อเป็นละอองฝอยอยู่ในอากาศได้ในระยะ 1-2 เมตร หรือเชื้ออาจติดตามพื้นผิวต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ระยะเวลาหนึ่ง

รู้หรือไม่ว่าเชื้อเข้าสู่ร่างกายเราได้อย่างไร?

  • เยื่อบุตา เช่น เมื่อเด็กๆ ไปจับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรคอยู่แล้วมาขยี้ตา
  • จมูก เช่น มื่อเด็กๆ ไปจับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรคอยู่แล้วมาแคะขี้มูกหรือจมูก
  • ปาก เช่น นำมือเข้าปาก อมของเล่น หรือใช้ภาชนะร่วมกัน

สำหรับเด็ก ๆ COVID-19 อันตรายอย่างไร
สำหรับเด็ก ๆ ส่วนใหญ่แล้วเมื่อมีการติดโรค COVID-19 จะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก และกว่าร้อยละ 90 จะมีประวัติสัมผัสกับบุคคลในครอบครัวที่มีการติดเชื้อ เด็ก ๆ อาจจะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ และส่วนใหญ่ก็จะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดทั่วไป ซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ มีรายงานผู้ป่วยที่เป็นโรค COVID-19 ที่มีอาการหนักและวิกฤตร้อยละ 6 ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่มีอาการหนักและวิกฤตพบมากภึงร้อยละ 19 โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีอาการรุนแรงในเด็ก ได้แก่ ทารกและเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างไร
มาตรการป้องกันที่สำคัญก็คือ “การล้างมือ”
 ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธีคือ
                    – ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ก็สามารถฆ่าเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ แต่จะต้องล้างเป็นเวลานานอย่างน้อย 20 วินาทีหรือให้เด็ก ๆ ร้องเพลง happy birthday 2 รอบก็จะครบ 20 วินาทีพอดี
                    – ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล ซึ่งจากคำแนะนำของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำว่าแอลกอฮอล์เจลควรมีความเข้มข้นอย่างน้อย 60 % โดยเน้นการล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่มีการไอ จาม ก่อนการรับประทานอาหาร หลังจากการเข้าห้องน้ำ หลังจากที่มีการสัมผัสกับผู้เจ็บป่วย หรือผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจ ภายหลังจากการสัมผัสสัตว์หรือซากสัตว์ และที่สำคัญภายหลังที่กลับมาจากที่สาธารณะหรือที่ชุมชนรวมเมื่อถึงที่บ้าน ควรจะรีบล้างมือทันที

ขอบคุณข้อมูลจาก

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

IG : GGGUBGIB36