ยังคงเป็นกระแสร้อนแรงอยู่ในโลกโซเชียล กันอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ “พิมรี่พาย” หรือ พิมพ์พรรณ สรัลรัชญ์ แม่ค้าออนไลน์ ช่วยเหลือน้องๆที่อยู่บนดอยสูง ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ด้วยการทุ่มเงินกว่า 5 แสนให้เด็กๆบนดอยได้มีไฟฟ้าใช้กัน ด้วยการนำแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นมาติดตั้ง ซื้อโทรทัศน์ จัดหาอุปกรณ์สร้างแปลงผัก และสิ่งของอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้แก่เด็กๆ จนกระทั่งเกิดกระแสในโลกออนไลน์อย่างหนัก กลายเป็นประเด็นดราม่าเรื่องการเข้าไปช่วยเหลือเด็กจนนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างหลากหลายแง่มุม
ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก รายหนึ่ง ได้โพสต์ชี้แจงถึงเรื่องราวดังกล่าว ว่า เนื่องจากมีกระแสในโลกออนไลน์จากยูทูปเบอร์ชื่อดังคนหนึ่ง และเราได้มีส่วนร่วมในการทำงานของ ศศช. ทำให้เกิดความไม่สบายใจ และมีข้อมูลบางอย่างที่คลาดเคลื่อน
จึงขออนุญาตใช้พื้นที่เล็กๆแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก ศศช.หรือศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา ”แม่ฟ้าหลวง” เป็นสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน.
กระทรวงศึกษาธิการ เป็นการจัดการศึกษาชุมชน
ที่ยึดชุมชนเป็นหลัก จัดกระบวนการเรียนรู้
ให้ประชาชนทั้งชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ทั้งการศึกษาต่อ มีอาชีพ และพัฒนาอาชีพของตนเอง ให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและนำมาเป็นส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับชุมชน มามากกว่า 40 กว่าปี
..
มีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ดังนี้
1.เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-6 ปี
จัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โภชนาการ
และดูพัฒนาการเด็กจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษา
ในระบบโรงเรียน อายุ 7-14 ปี
กลุ่มนี้ ศศช.บางแห่งเป็นสถานศึกษาพื้นที่เป้าหมาย
การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ดูแลทั่งด้านโภชนาการ สุขอนามัย วิชาการจริยธรรม ฯลฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
3.กลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ อายุ 15 -59 ปี
กลุ่มนี้จัดการศึกษาพัฒนาอาชีพและทักษชีวิต
การศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงทักษะฟังพูดอ่านเขียน
ภาษาไทยเพื่อสื่อสารและรับบริการเช่นสถานพยาบาลเวลาเจ็บป่วยจะได้แจ้งอาการถูก เป็นต้น
4.ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป
จัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน
..
ปกติครูทำหน้าที่สอนเด็กและประชาชนในชุมชน เป็นการจัดการศึกษาตามบริบทชุมชนและโครงการอื่นๆในพื้นที่จากหลายหน่วยงานโดยให้ ครูศศช.เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ (บาง ศศช.เป็น 10 โครงการก็มี)
และมักมีเครือข่ายมาให้การสนับสนุนอยู่บ่อยๆ
ทั้งเรื่องของ อาคารเรียน ศศช. ที่จะถูกสร้างการสนับสนุนจากผู้ที่สนใจ (แต่เดิมชาวบ้านในชุมชนเป็นคนสร้างอาคาร ศศช.)ข้าวของเครื่องใช้ อาหารและยารักษาโรคต่างๆ ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตามพื้นฐานหรือจากผู้ให้การสนับสนุน
ด้วยพื้นที่ห่างไกล ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าไปไม่ถึงในบางพื้นที่ใช้พลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ หรือน้ำ แต่อาจจะไม่ได้มีทั้งชุมชน
ภายใน ศศช. จะมีพลังงานทดแทนเหล่านี้สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนภายใน ศศช.
..
จากกระแสเรื่องราวของ ศศช.ที่ได้ถูกประชาสัมพันธ์และเผยแพร่อยู่ในขณะนี้
ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย หากท่านใดสนใจข้อมูล
อยากให้การสนับสนุน ศศช. 808.แห่งในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา ลำพูน ลำปาง กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี พังงา
สามารถติดต่อสำนักงาน กศน.จังหวัด ทั้ง 14 จังหวัด
ที่ได้แจ้งไว้
..
ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ
และยินดีอย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุน ศศช. นะคะ
..
Cr.ภาพประกอบจาก FB ศศช.บ้านแม่เกิบ
Pathasit Phasithphat & Boo NG
..
อยากอธิบายว่า
ปรเด็นที่ 1 เด็กในพื้นที่ที่เขาไม่รู้จัก”ไข่เจียว” เนื่องจากเขาเรียกกันว่า “ทอดไข่”
ประเด็นที่ 2 ถ้าเด็กๆไม่รู้จักวิธีปลูกผัก เขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีผักรับประทาน
**และยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าคิด เช่น ในคลิปบอกว่าในหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ การศึกษาเข้าไม่ถึง แต่ในคลิปของยูทูปเบอร์ท่านนั้นที่ถ่ายตอนต้นคลิป(มุมสูง) ยังมีจานดาวเทียมตั้งตระง่านอยู่ในหมู่บ้านเลย คือ??
*** อยากให้ทุกท่านได้เข้าไปดูในเพจของ ศศช.บ้านแม่เกิบ จะช่วยอธิบายอะไรหลายๆอย่าง เพื่อความเป็นกลางค่ะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ
และยังมี รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกมาโพสต์ถึงคลิปของ พิมรี่พาย ที่ไปช่วยเหลือเด็กๆบนดอยสูงเอาไว้ว่า “ความฝันมันสร้างกันง่ายๆด้วยการติดทีวีให้ดู ติดแผงโซล่าเซลล์ หาเกิบให้เด็กใส่ เอาไฟฉายติดให้บนหัว เลิก “ถางภูเขาเป็นลูกๆ” และ “สอน” ชาวบ้านให้หัดรู้จักปลูก “ผักสลัด”มันไม่ใช่ความฝันของเด็กดอยหรอกแบบนี้ มันความฝันอยากจะโปรดสัตว์ชนชั้นล่าง ของพวกชนชั้นกลางในเมืองที่ไม่เคยรู้/สนห่าเหวอะไรเลยเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ การเบียดขับชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย และการตัดขาดพวกเขาออกจากการเข้าถึงทุกอย่างในสังคม ที่อย่าว่าแต่ทีวีเลย ลำพังแค่จะทำไร่ปลูกข้าวให้มันพอกินในที่ดินที่พวกป่าไม้ยึดครอง ยัง “ขัดตา”พวกชนชั้นกลางในเมืองเลย เศรษฐกิจการโปรดสัตว์ สนองตัณหาความฟีลกู๊ดของพวกคนในเมืองสร้างกำไรเสมอ โดยเฉพาะในวันเด็กแบบนี้”
ล่าสุด”พิมรี่พาย” ได้ไลฟ์เฟซบุ๊ก บอกว่า จุกในอกจริงๆ ไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องราวใหญ่โตขนาดนี้ ในตลอดระยะเวลา 2 วันที่ปล่อยคลิปออกไปก็ตกตะกอนพอสมควร และก็ตกตะกอนด้วยเช่นกันกับความคิดเห็นที่ทุกคนส่งกันเข้ามา เพราะพิมเองก็อยู่ในจุดที่ทุกคนมองเห็น อาชีพพิมคืออาชีพของการสร้างภาพ ไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องราวใหญ่โตขนาดนี้ ตลอดระยะเวลา 2 วันที่ปล่อยคลิป ตกตะกอนความคิดพอสมควร ชั่งน้ำหนักถึงการแสดงความคิดเห็น ของกลุ่มต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ นี่คืออาชีพ “พิม” ที่จะต้องสร้างภาพให้ลูกค้าเห็น อันดับแรกจะพูดเรื่องสร้างภาพ เพื่อหากินจริงๆ เพราะเป็นอาชีพ จะสร้างแบบใหนเพื่อคืนสู่สังคม อยู่ที่คุณธรรมและจริยธรรมในหัวใจ
ที่ต้องมาทำคลิปความดีเพราะปังมาก ตนเป็นแม่ค้าออนไลน์มา 3 ปี ซึ่งขายของมาตั้งแต่เด็ก โดยเมื่อ 2 ปีที่แล้วเอาเงิน 1 ล้านบาทแรกที่ขายของได้ไปวางที่เท้าพ่อ ซึ่งเมื่อพูดถึงตรงนี้เจ้าตัวถึงกับสะอื้นออกมา จากนั้นพิมรี่พาย ก็เล่าถึงที่มาของการทำคลิปความดี โดยย้อนไปถึงช่วงที่มีเงินและอยากกินอะไรก็กิน ทำงานได้เงินมาเยอะและใช้เงินเพื่อซื้อของที่ต้องการ รวมทั้งอยากกินอะไรก็กิน กระทั่งวันหนึ่งก็คิดว่า ใช้เงินเยอะในการกิน แต่ก็กินเท่าเดิม ไม่ว่าจะมีเงินมากหรือน้อย เพราะคนเราก็กินได้แค่อิ่มเท่านั้น
จึงเริ่มมาทำคอนเทนต์ความดี ออกไปช่วยคน ได้จากสังคมมาเท่าไร ก็คืนสังคมเท่านั้น อย่างเต็มที่และเต็มใจที่สุด ไม่ว่าใครจะขออะไร ตนผิดอะไรที่กตัญญู ทำความดีเพื่อบ้านเกิดเมืองนอน ถ้าจะผิดก็ขอโทษที่พกพร่อง ที่ไม่ได้ประสานเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่ดูแลจุดนั้นก่อน ถ้าใครมีความเห็นอื่นที่ต่างไป ให้มองถึงเจตนา แค่อยากทำความดี
ยืนยันว่าตนเองทำความดี ไม่ได้มีเจตนาอะไรที่ไม่ดี ฝากถึงคนที่ติดตามไม่ต้องห่วง ตนทำความดี ไม่ได้ทำอะไรไม่ดี ไม่หวั่นไหวกับการทำความดี และจะทำต่อ สนับสนุนให้ทุกคนทำความดีและตนจะทำต่อไป ไม่มีใครมารังแกตน เพราะรู้ว่าตนทำความดี อยากถามว่าดราม่าทำไม เอาตนไปเป็นเครื่องมือความสนุกทำไม แล้วแบบนี้คนที่จะทำความดีจะทำต่อได้ไหม ตนจะทำบุญจนตาย
by TVPOOL ONLINE