เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

วันที่ 2 ก.พ.2564 นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการพิจารณาพักการลงโทษได้ประชุมพิจารณาผู้ต้องขังที่เข้าเกณฑ์ได้รับการพักโทษ โดยในรอบนี้มีผู้ต้องขังเข้าเกณฑ์ไม่เกิน 500 คน ในจำนวนนี้มีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา อดีตผู้ประกาศข่าวชื่อดัง เข้าเกณฑ์ได้รับการพักโทษเป็นกรณีพิเศษ และจะออกจากเรือนจำวันที่ 14 มี.ค.นี้

การปล่อยตัวของ สรยุทธ นำมาซึ่งความทขัดข้องใจ ว่าทำไม สรยุทธ ถึงได้รับการพ้นโทษ อย่างรวดเร็ว ซึ่ง ได้ไปหาเหตุของการพ้นโทษเร็ว ซึ่งถูกกำหนดเป็น คู่มือออกจากคุกให้เร็ว มีดังนี้คือ

1. ยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อศาล

น่าจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุดสำหรับผู้ต้องขัง ที่คดียังอยู่ใระหว่างการพิจารณาของศาล โดยเฉพาะคดีที่มีโทษจำคุกไม่มาก และเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด ศาลอาจพิจารณาให้ประกันตัวในกรณีที่มีหลักทรัพย์ ค้ำประกันเพียงพอหรือมีเหตุผลอื่นในการให้ประกัน เช่น สูงอายุ เจ็บป่วยร้ายแรง

2. พยายามเลื่อนชั้นให้เร็ว และ หลีกเลี่ยงการถูกตัดชั้น

ผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้ว จะได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกมากหรือน้อยตาม “ชั้น”ของผู้ต้องขัง ดังนี้

  • ชั้นเยี่ยม ได้ลดโทษ เดือนละ 5 วัน
  • ชั้นดีมาก ได้ลดโทษ เดือนละ 4 วัน
  • ชั้นดี ได้ลดโทษ เดือนละ 3 วัน

เรือนจำจะแบ่งชั้นของผู้ต้องขังออกเป็นชั้นต่างๆ 6 ชั้นคือ

ชั้นเยี่ยม ชั้นดีมาก ชั้นดี ชั้นกลาง ชั้นเลว และชั้นเลวมาก

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประพฤติการปฏิบัติตามระเบียบของเรือนจำ และความตั้งใจในการฝึกวิชาชีพหรือเรียนหนังสือ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากพ้นโทษเร็ว ก็อย่าฝ่าฝืนระเบียบเรือนจำจนถูกตัดชั้น

3. ทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ

ผู้ต้องขังสามารถยื่นทูลเกล้าขอพระทานอภัยโทษเป็นรายบุคคล และ อาจได้รับการพิจารณาเพื่อรับพระราชทานอภัยโทษ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันสำคัญต่างๆ เช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา เป็นต้น

4. อาสาสมัครออกทำงานสาธารณะ

ผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดี และมีโทษจำคุกเหลือไม่มาก อาจได้รับการพิจารณาให้ออกมาทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ เช่น การขุดลอกคูคลอง ท่อระบายน้ำ ซึ่งนอกจากจะได้รับเงินปันผลสูงถึง 80 % ของกำไรสุทธิจากรับจ้างงานสาธารณะแล้ว ผู้ต้องขังยังได้รับการลดโทษ เป็นจำนวนวันเท่ากับจำนวนวันที่ออกทำงานสาธารณะอีกด้วย

5. การขอพักการลงโทษ

เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ต้องขังออกจากเรือนจำได้เร็วกว่ากำหนด โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • ต้องจำคุกมาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกำหนดโทษ
  • ถ้าเป็นคดีจำคุกตลอดชีวิต ต้องรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี
  • ระยะเวลาของการพักโทษมีดังนี้

– ชั้นเยี่ยม ได้พักไม่เกิน 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ
– ชั้นดีมาก ได้พักไม่เกิน 1 ใน 4 ของกำหนดโทษ
– ชั้นดี ได้พักไม่เกิน 1 ใน 5 ของกำหนดโทษ

ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนพักการลงโทษ สำนักทัณฑปฏิบัติ
กรมราชทัณฑ์ โทร. 0-2967-3371 , 0-2967-3372 หรือสอบถามได้ที่เรือนจำทุกแห่ง

by TVPOOL ONLINE

TV Pool OnlineTV Pool OnlineTV Pool OnlineTV Pool OnlineTV Pool Online