ลดเร็ว เห็นผลไว สลายไขมันติดจรวด คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมเหล่านี้จะปลอดภัยกับผู้บริโภคอย่างเรา ยิ่งปัจจุบันอาหารเสริมที่วางตามท้องตลาดหรือในตลาดออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบทั้งของจริงของปลอม ผลิตกันออกมาให้เกลื่อน อาหารเสริมบางตัวอันตรายถึงชีวิต
เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารเสริมที่เราบริโภคจะเป็นของจริงหรือของปลอมต้องตรวจสอบที่เลข อย. ให้ถูกต้องแต่ผู้ผลิตบางจำพวกหัวใสใส่เลข อย.ปลอม ก็เยอะ สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ล่าสุด “ศูนย์ประสานงานอาหารและยา”ออกมาเตือนภัยให้ผู้บริโภคระวังอาหารเสริมปลอม คนกินเสี่ยงตาย คนขายเสียงติดคุก สังเกตุได้จากอาหารเสริมบางตัวดูเผินๆ เหมือนจะได้รับมาตรฐาน เพราะมีเครื่องหมายรับรองครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเลขอย.,GMP,HACCP,ฮาลาน ผู้บริโภคต้องตรวจสอบให้ชัดเจน ลองหยิบอาหารเสริมที่คุณรับประทานขึ้นมา ตรวจสอบดูว่าเป็นตามนี้หรือไม่ อย. สองตัวแรกจะบอกไว้ว่าย่อมาจากรหัสไปรษณีย์ของจังหวัดในประเทศไทยที่ผลิตหรือนำเข้า ตรวจสอบเลขให้ตรงกับสถานที่ผลิตหรือนำเข้า
นอกจากนี้ผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ ที่โฆษณาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพราะล้วนแต่เป็นเรื่องหลอกลวง เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารจะไม่สามารถลดความอ้วนได้ โดยผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากแหล่งที่เชื่อถือได้ รวมทั้งควรพิจารณาและอ่านฉลากให้ถ้วนถี่เสียก่อน อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ต้องแสดงฉลากภาษาไทย ชื่อ/ที่อยู่ผู้ผลิต/นำเข้า เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. แสดงวัน/เดือน/ปีที่ผลิต หรือวัน/เดือน/ปีที่หมดอายุของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ยา ฉลากระบุชื่อผลิตภัณฑ์ เลขทะเบียนตำรับยา เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 9999/46, ทะเบียนยาเลขที่ G 999/45 ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ครั้งที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วัน/เดือน/ปีที่ผลิต ส่วนประกอบ สรรพคุณ วิธีใช้ คำเตือน ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง วันสิ้นอายุของยา เป็นต้น
by TVPOOL ONLINE