เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

แม้ว่าเราทุกคนจะทำความสะอาดฟันกันเป็นประจำทุกวัน แต่ 90 %ของคนทั่วไปก็ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับหินปูนกันทั้งนั้น มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ความเอาใจใส่ในการแปรงฟัน และรูปแบบการเรียงตัวของซี่ฟัน ฟันใครซิกแซกไปมาอาจจะทำความสะอาดยากและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดคราบหินปูนสะสมตัวกันมากขึ้น

0

คราบหินปูนสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ ฟันจะมีสีเหลืองหรือสีครีม และมีปัญหากลิ่นปาก นอกจากนี้ยังเป็นปัญหาโรคอื่นๆในช่องปากด้วย ดังนี้

อันตรายของคราบหินปูน

1. โรคฟันผุ จุลินทรีย์ที่สะสมตัวอยู่จะปล่อยกรดออกมาทำลายสารเคลือบฟัน ยิ่งนานไปก็จะยิ่งกัดกร่อนผิวฟันให้บางลง ส่งผลให้ฟันผุได้ง่ายขึ้น

 

2. เหงือกอักเสบ คราบจุลินทรีย์จะใช้น้ำตาลจากอาหารในการสร้างกรดและสารพิษ นอกจากจะทำให้ฟันผุแล้ว ยังมีสารบางตัวที่ทำร้ายเหงือกด้วย

 

3. ฟันเหลือง คราบหินปูนทำให้ฟันดูสกปรกและทำให้เสียบุคลิกภาพ เนื่องจากเป็นแคลเซียมและจุลินทรีย์มาเคลือบผิวฟัน

 

4. มีกลิ่นปาก คราบหินปูนมีแบคทีเรียจากขี้ฟันมากมาย ทำให้เกิดกลิ่นปากได้อย่างไม่ต้องสงสัย

5. เหงือกร่นเมื่อหินปูนเกาะตัวกันใหญ่มากๆ หินปูนจะดันลงมาที่เหงือกข้างล่าง ทำให้เหงือกร่นได้

 

6. ปัญหาฟันโยกหรือฟันห่าง ถ้าหินปูนดันเหงือกลงมามากๆ จะทำให้เหงือกยึดฟันได้น้อย เวลาเคี้ยวอาหารก็มีสิทธิที่ฟันจะโยก ทำให้ฟันห่างกันออกไปได้อีก

 

7. ปริทนต์ อาการที่เกี่ยวเนื่องกับอักเสบระยะรุนแรง เพราะกระดูกและเส้นใยที่คอยยึดฟันจะถูกทำลายแล้ว ทำให้คราบเข้าไปสะสมในร่องเหงือก ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้คงต้องถอนฟันทิ้งไปสักวัน

 

8. ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ คราบหินปูน คือ เชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระแสเลือดก็สามารถเจริญเติบโตเป็นคราบในหลอดเลือด และเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดได้ ดังนั้น อาจพัฒนาต่อจนกลายเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้เลย

plaque-cover

วิธีการกำจัดหินปูน

1. ทำความสะอาดฟันให้สะอาดทั่วทั้งปากทุกๆ วัน แม้ไม่กินอาหารก็สามารถมีคราบโปรตีนในน้ำลายไปเกาะอยู่ที่ผิวฟันได้อยู่ดี เพียงแต่เรามองไม่เห็นเท่านั้น ดังนั้น จึงควรแปรงฟันทุกวันเพื่อจะทำให้เกิดหินปูนช้าลงหรือน้อยลง

 

2. ขูดหินปูน ควรทำโดยทันตแพทย์เท่านั้น ไม่ควรหาอะไรแหลมๆมาขูดเองเด็ดขาด เพราะนอกจากหินปูนจะไม่ออกแล้ว ยังทำให้เลือดออกตามไรฟันและอาการเสียวฟันตามมาได้

การขูดหินปูนมีระยะเวลาความถี่ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน แต่โดยเฉลี่ยแล้วควรพบทันตแพทย์อย่างน้อย 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง

 

ที่มา – kaijeaw.com