เชื่อว่าหลายคนที่ได้ดูเรื่อง คังคุไบ ทาง Netflix น่าจะเกิดความสงสัยในฉากนี้ ว่าทำไม คังคุ ถึงเทชาลงจานรองแล้วค่อยดื่ม…
หากใครเคยศึกษาประวัติศาสตร์อินเดียมาบ้าง หรือหากเคยอ่านเรื่องราวของมหาตมะคานธี จะมีการพูดถึงวัฒนธรรมการดื่มชา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของอังกฤษ…
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุดปัง! “คังคุไบ” เวอร์ชั่นไทย ต้องเป็นคนนี้เท่านั้น!!? ชาวเน็ตชมสนั่น!??
ว๊าว! เปิดเส้นทางความรัก “อเลีย บาตต์” นางเอก “คังคุไบ” จุดจบเหมือนหนังมั้ย..!!?
ในช่วงเวลาของภาพยนตร์ เป็นยุคสมัยที่อิทธิพลของประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของอินเดียยังอยู่…
ช่วงเวลาที่อังกฤษปกครองอินเดียอยู่นั้น ก็ได้มีการปลูกชาที่อินเดีย แล้วส่งกลับประยังประเทศต้นอาณานิคม พร้อมๆกับแพร่วัฒนธรรมการดื่มชาสู่พื้นที่ด้วย…
ชาขึ้นชื่อของภูมิภาคเช่น ชาอัสสัม ปลูกในรัฐอัสสัม ของประเทศอินเดีย…หรือชาซีลอน ที่ปลูกในประเทศศรีลังกา (ซีลอน เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ประเทศอาณานิคมใช้เรียกศรีลังกา)…
โดยชาวอังกฤษ ห้ามให้คนอินเดีย ดื่มชาจากถ้วยเหมือนพวกตน แต่ให้ดื่มจากจานรองถ้วยชาแทน ด้วยมองว่าชาวอินเดียที่เป็นเมืองอาณานิคมนั้น ต้อยต่ำกว่าตนเอง…
ก็เป็นการเหยียดลักษณะหนึ่งนั่นแหละ…พฤติกรรมนี้แพร่สู่สังคมอินเดีย แล้วการเหยียดก็เกิดขึ้นระหว่างวรรณะ และอาชีพ…
หากสังเกตสักหน่อย ในภาพยนตร์ ตอนที่คังคุ เข้าไปพบนายก ตอนนั้นนายกไม่ยอมจับมือด้วย และปฏิเสธที่จะดื่มชากับเธอ… คังคุ ก็ทราบโดยทันทีว่าตนที่เป็นโสเภนีนั้นโดนรังเกียจแน่ๆ… จึงเทชาจากถ้วยลงสู่จานรองเพื่อดื่ม เพื่อเป็นการแสดงความเจียมตน และเพื่อไม่ให้คนที่จะนำถ้วยชานั้นไปใช้ต่อเกิดความรังเกียจ… ถือว่าเป็นการเก็บรายละเอียดของภาพยนตร์ที่ดีมากๆ…
ในท้ายที่สุด ก่อนจบการสนทนา นายกก็ได้มอบดอกกุหลาบที่เหน็บ บนอกให้แก่คังคุ เป็นการแสดงความเคารพเธอจากใจจริง…
by TVPOOL ONLINE