เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

งานนี้มีดราม่า แชทไลน์คุณพ่อถึงคุณครูบอก เรียนคุณครูครับ การบ้านยกเลิกได้ยกเลิกไปเลยนะครับ เด็กทำไม่ได้ ที่บ้านไม่มีคนสอนนะครับ ไม่มีใครเก่งกว่าครูครับ สอนให้จบที่โรงเรียนครับ

กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากในประเด็นนี้ เกี่ยวกับการให้การบ้านของคุณครูแก่นักเรียน แล้วทางผู้ปกครองรู้สึกว่ามันไม่โอเค มีหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ ว่าจริงๆแล้วควรยกเลิกระบบการให้การบ้านจดีกว่ามั้ย หรือการบ้านจะเป็นการทบทวนบทเรียนของเด็ก มีการถกเถียงถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

“รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี” ผอ.ศูนย์คุณธรรมกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น เคยได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ไว้ว่า ปัญหาระบบการศึกษาไทย ที่มีการแข่งขันสูง ให้การบ้านเด็กเยอะเกินความจำเป็น จนเด็กมีเวลานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เด็กมีภาวะความเครียดสะสม เกิดภาวะซึมเศร้าในที่สุด

“เคสแบบนี้เยอะมากครับ  คือ ทุกวันนี้หมอบอกเลยว่า เปรียบเทียบ 100% เคสที่เด็กมีปัญหา ครึ่งหนึ่งคือครอบครัว อีก 25% คือ ระบบของโรงเรียนที่มีปัญหา

เราเจอเคสแบบนี้เยอะมาก ตัวอย่างมีเยอะ แม้กระทั่งจะเห็นเลยว่า การบ้านยากมาก บางทีเรียนอยู่ชั้น ป.4 ให้การบ้าน ป.5 เรียนอยู่ชั้น ม.1 ก็ให้การบ้านของ ม.2-ม.3 หรือว่าการบ้านที่คุณครูที่ให้ ก็นึกว่าเรียนวิชาเขาวิชาเดียว ซึ่งพอเอามารวมกันมันก็กลายเป็นเยอะ เพราะครูทุกท่านก็ให้การบ้านหมด”

ยังสะท้อนต่ออีกว่า ควรมีการยกเลิกการบ้านเด็ก เพื่อลดแรงกดดันสำหรับเด็กจะมีอัตราที่ลดลง และควรเพิ่มเวลาชีวิตของเด็ก ให้มีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว

“ในฐานะหมอเด็กคนนึง มองว่า การบ้านเด็กช่วยยกเลิกไปเลยได้ไหม แล้วถ้ายังใช้การบ้าน จงทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ ใช้วัตถุและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนของเขา แล้วเอามาประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มา

ถ้าทำให้เป็นในลักษณะนั้นได้ มันจะกลายเป็นแบบฝึกหัดชีวิต เกิดการเรียนรู้โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ล้อมรอบของเขาเอง แทนการทำเป็นการบ้าน

การบ้านเด็กที่มีเยอะเกินไป มันมีปัญหาแน่ เพราะทุกวันนี้เด็กเรียนโดยระบบแพ้คัดออก หมอใช้คำว่าแพ้คัดออก คือ การสอบได้ สอบตก และมีลักษณะการตัดเกรด มีสอบได้สอบตกทั้งหลาย พวกนี้เป็นพวกแพ้คัดออกทั้งสิ้น

ในระบบลักษณะอย่างนี้ จริงๆ แล้ว มันก็มีความเครียดอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเสริมความเครียดอะไรเพิ่ม ก็เครียดอยู่แล้ว ไม่นับหลังโควิด-19 ที่จะต้องกังวลเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ หรือสถานการณ์เงินของพ่อแม่ที่มีปัญหา ในสภาพเศรษฐกิจที่มาประจวบเหมาะกัน

กับอีกเรื่องที่เป็นประเด็นจากระบบการศึกษาบ้านเรา คือ นอกจากชอบให้การบ้านเยอะแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ยาก คือ ข้ามชั้นก็มี เพราะฉะนั้นเวลาที่มีการบ้านเยอะๆ และยากในลักษณะนี้ มีปัญหาเกิดขึ้นกับเด็กแน่

คือ อาจจะทำให้นอนไม่พอ ซึ่งทุกวันนี้เด็กไทยติดหนี้การนอนทั้งประเทศ และเป็นหนี้ NPL คือ หนี้กู่ไม่กลับ ยังไงก็ไม่ได้รับการชดเชย เด็กเรียนจันทร์ถึงจันทร์ เสาร์อาทิตย์ก็ต้องมานั่งทำการบ้านชดเชย ซึ่งวัตถุประสงค์แบบนี้ หมอมองว่า ระบบทางการศึกษาต้องไปทบทวนตัวเอง ไม่ว่าจะอยู่ในจังหวัดไหน

ยิ่งอยู่ในจังหวัดที่อยู่ในพระราชบัญญัติการศึกษาพิเศษ ยิ่งต้องคิดหนักเลย ว่า เรากำลังสอนลูกสอนหลานไปเพื่ออะไร และกำลังต้องการได้อะไรกันแน่ ทำไมเราไม่ใช้เรื่องของสมรรถนะ ทำไมเราไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสพักสมอง”

“คือ เวลาการบ้านเยอะ ต้องถามว่าเขานอนหลับพักผ่อนเพียงพอไหม ถ้าเขานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สมองจะแฮงก์ เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ของเราไม่ได้พักเลย แล้วป้อนข้อมูลใส่เข้าไปเรื่อยๆ ผมว่าไม่นานเครื่องก็เจ๊งไปในที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แฮชแท็กร้อนแรง สะท้อนปัญหาการศึกษาไทย #ทําไมครูไทยอยากลาออก

นักเรียน-นักศึกษา เฮ!รัฐบาลแจงมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา โอนแล้ว 2.17 หมื่นล้าน