เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

หากไม่มีพระราชดำริจากในหลวง ร.9 ให้จัดตั้งโรงเรียนในวันนั้น ก็คงไม่มีมัธยมของชุมชน…ราชดำริ ในวันนี้ นายนพคุณ ทรงชาติ อดีตครูใหญ่โรงเรียนราชดำริคนแรก

เป็นที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของปวงชนไทยอยู่แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงห่วงใยและตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะทรงถือว่า “การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตมนุษย์” ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะตั้งอยู่แห่งหนตำบลใด และทุรกันดารมากถึงเพียงใด แต่เมื่อไรที่พสกนิกรยังคงใช้ชีวิตอย่างทุกข์ยาก ลำบาก ก็มิอาจรอดพ้นสายพระเนตรพระองค์ท่านไปได้

4dqpjutzluwmjzzj6cadfgjzvun93bqbsefimbrzft3x

เปิดประวัติ ก่อนจะเป็นมัธยมของชุมชน…ราชดำริ

“โรงเรียนราชดำริ” อีกหนึ่งสถานศึกษาที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเปิดโอกาสให้เด็กในชุมชน ที่ลำบากยากไร้ ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา

ขอพาย้อนกลับไปในวันที่ในหลวง ร.9 มีพระราชดำริ จัดตั้งสถานศึกษาแห่งนี้ขึ้นมา เหตุการณ์วันนั้นเป็นอย่างไร พระองค์ทรงเห็นอะไร และตรัสว่าอย่างไร ใครยังพอจำได้อยู่บ้าง? วันนี้ ทีมข่าวฯ ได้เชื้อเชิญผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์มาร่วมบอกเล่าถึงความเป็นมา ก่อนเป็นโรงเรียนราชดำริอย่างเช่นวันนี้ …

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จฯ มาทรงตัดลูกนิมิตอุโบสถวัดทุ่งลานนา แขวงดอกไม้ เขตประเวศ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของเจ้าอาวาสในขณะนั้น ซึ่งหลังจากที่ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านศาสนาเสร็จแล้ว พระองค์ท่านพระราชทานวโรกาสให้พสกนิกรเข้าเฝ้าฯ แสดงความจงรักภักดี

4dqpjutzluwmjzzj6cadfgjzvun93bzih5ixww6efxpi

เมื่อตรัสถามถึงทุกข์สุข จากชาวบ้านในชุมชน ก็ได้ทรงทราบว่า เยาวชนในตำบลนี้ ส่วนใหญ่มีการศึกษาค่อนข้างต่ำ และไม่มีโอกาสได้เรียนถึงขั้นระดับมัธยมศึกษา เนื่องจากไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ พระองค์ท่านทรงมีความห่วงใยเป็นอย่างมาก จึงมีพระราชดำริให้พระครูเนกขัมมคุณาจารย์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งลานนา และกรรมการวัด รับภาระดำเนินการ

หลังจากนั้น พระครูเนกขัมมคุณาจารย์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งลานนา และกรรมการวัด ก็ได้มีการกระจายข่าวไปยังชุมชนทุ่งลานนา เพื่อหาผู้บริจาคที่ดิน สร้างเป็นสถานศึกษาแห่งใหม่ของชุมชน

njpus24ncqkx5e1ezcmn5gkpez2tfpxet4qguplt5t6

กระทั่ง มีผู้สละที่ดินส่วนตน บริจาคที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนมัธยมของชุมชน ได้แก่ นายขุนทอง-นางฉะอ้อน บุญมาเลิศ บริจาคที่ดิน จำนวน 8 ไร่ นางสมถวิล มีสายทอง บริจาคที่ดิน จำนวน 4 ไร่ และนางลิป ปานเถื่อน บริจาคที่ดิน จำนวน 71 ตารางวา ทำให้มีที่ดินทั้งหมด 12 ไร่ 71 ตารางวา ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการสร้างสถานศึกษา

โดยขณะนั้น นายชิต-นางพิศ สว่างเนตร ซึ่งได้ประสงค์จะบริจาคที่ดิน จำนวน 6 ไร่ 55 ตารางวา ให้แก่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 2 อยู่แล้ว ก่อนที่จะมีการตั้งโรงเรียนราชดำริขึ้น เมื่อคุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู (ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมขณะนั้น) ได้ทราบเรื่องว่าจะมีการก่อสร้างโรงเรียนราชดำริ ตามคำบอกเล่าของคณะกรรมการวัด จึงได้ไปขอความกรุณาใช้ที่ดินส่วนนี้ เพราะตั้งอยู่ใกล้สถานที่ก่อสร้าง กระทั่ง นายชิต-นางพิศ สว่างเนตร ก็ยินดีโอนที่ดินแปลงดังกล่าว ให้ใช้ในราชการโรงเรียนราชดำริได้ จึงทำให้ที่ดินของโรงเรียนราชดำริ เพิ่มเป็น 18 ไร่ 55 ตารางวา

4dqpjutzluwmjzzj6cadfgjzvun93bzavcksjvfdpyfd

หลังจากนั้น ทางกรรมการวัดจึงได้ประสานงานติดต่อกับ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งนี้ ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 โดยคณะกรรมการวัดและผู้บริจาคที่ดิน ได้ลงมติเอกฉันท์ว่า ควรให้ชื่อว่า “โรงเรียนราชดำริ” เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ในหลวง ร.9 มีพระราชดำริจัดตั้งมัธยมของชุมชน…ราชดำริ ตรัสผ่าน พระครูเนกขัมมคุณาจารย์

ทั้งนี้ เพื่อได้ร่วมกันระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ ในหลวง ร.9 ว่า เหตุการณ์วันที่พระองค์เสด็จฯ มาวัดทุ่งลานนา พระองค์ตรัสกับ พระครูเนกขัมมคุณาจารย์ ว่าอย่างไรบ้าง เหตุใดถึงได้มีชาวบ้านยอมสละที่ดินทำกิน น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินสร้างสถานศึกษาในทันที

เป็นโชคดีของทีมข่าวฯ ที่ได้มีโอกาสพบกับ พระครูเนกขัมมคุณาจารย์ เจ้าอาวาสวัดทุ่งลานนา ผู้ที่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ และเป็นบุคคลเดียวที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตรัสเรื่องการสร้างโรงเรียนแห่งนี้อย่างใกล้ชิด

ภายในกุฏิเจ้าอาวาสวัดทุ่งลานนา ‘พระครูเนกขัมมคุณาจารย์’ ยังคงมีสีหน้าแช่มชื่น สดใส สุขภาพพลานามัยภายนอกดูแข็งแรง แม้จะมีอายุมากถึง 89 ปีแล้ว แต่ก็ทราบจากลูกศิษย์เจ้าอาวาสว่า หลวงพ่อค่อนข้างมีปัญหาเรื่องการได้ยิน ดังนั้น การสนทนากับท่าน ลูกศิษย์จะขอทำหน้าที่สอบถามแทนผู้สื่อข่าว

“เมื่อครั้งที่ในหลวงเสด็จฯ มา พระองค์ท่านมีรับสั่งว่าอย่างไรบ้าง พอจำได้ไหม” ลูกศิษย์ตะโกนข้างหูซ้าย

พระครูเนกขัมมคุณาจารย์ ท่านนิ่งไปครู่หนึ่ง แล้ว…พยักหน้าตอบรับว่า “จำได้”

ที่มา – ไทยรัฐ