เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการไทยและ ลูกเสือไทย ซึ่งเป็นวันที่กำหนดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงริเริ่มกิจการลูกเสือในประเทศไทย และด้วยเหตุนนี้เอง ทางสกูปเอ็มไทย จึงขอนำเสนอข้อมูลดีๆ มีประโยชน์มาฝากกัน เนื่องในวันวชิราวุธกันครับ

วันวชิราวุธ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ความเป็นมาของวันวชิราวุธ

วันวชิราวุธ ถูกกำหนดให้ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญๆ และเป็นประโยยชน์ต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ หลากหลายด้าน ทั้งด้านคมนาคม การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดี และที่เรารู้จักกันตั้งแต่เด็ก คือ พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกิจการเสือป่าและลูกเสือ เพื่อฝึกให้ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการป้องกันตัวเอง ดูแลตัวเอง ในหมู่บ้านหรือชุมชนตนเองได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันวชิราวุธ อีกทั้งภายหลังได้มีหลักฐานว่า วันสวรรคตแท้จริงตรงกับเช้ามืดช่วงตี 1 ของวันที่ 26 พฤศจิกายน แต่ทางราชการยังคงถือให้วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันวชิราวุธตามเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

วันวชิราวุธ

25 พฤศจิกายน วันวันวชิราวุธ

วันวชิราวุธเป็นวันสำคัญกับกิจการเสือป่าและลูกเสือ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤาภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอบรมข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ให้ได้รับการฝึกหัดอย่างทหาร เพื่อให้เป็นราษฎรที่เข้มแข็ง มีคุณภาพ และส่งเสริมความสามัคคี โดยเหล่าเสือป่าจะมีหน้าที่ในการรักษาความสงบทั่วไปในเมือง
ขณะเดียวกันก็ได้ทรงก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เพื่อฝึกให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง อดทน เสียสละ สามัคคี ดังที่ได้พระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” และดังพระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่อง หัวใจนักรบ และ ความดีมีไชย ที่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญกับบทบาทและหน้าที่ของลูกเสือ

คำปฏิญาณตนของลูกเสือ

ลูกเสือ เป็นวิชาที่ทุกคนแทบจะต้องผ่านการเรียนการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ตลอดจนไปถึงชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งจะมีการเรียกลำดับชั้นของลูกเสือว่า ลูกเสือสำรอง และลูกเสือสามัญ ตามลำดับ ซึ่งแต่ละลำดับชั้นนั้นจมีกฎและคำปฏิญาณที่แตกต่างกันไป ได้แก่

คำปฏิญาณของลูกเสือสำรอง
ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า ..
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหาษัตริย์
ข้อ 2 ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน

คำปฏิญาณของลูกเสือสามัญ
ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า ..
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหาษัตริย์
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

ที่มา – mthai