เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ชาวไทยใหม่ ราไวย์ สุดตื้นตัน ศาลตัดสินยกฟ้องคดีเจ้าของโฉนดที่ดิน เลขที่ 8342 ฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่ ระบุหลักฐานภาพถ่ายขณะในหลวงเสด็จประพาสหาดราไวย์ พบต้นมะพร้าวในภาพยืนยันมีอายุกว่า 30 ปี ขัดแย้งต่อคำให้การของโจทก์

วันที่ (31 ม.ค.) ที่ศาลจังหวัดภูเก็ต ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น คคีหมายเลขดำ พ.1133/58 ระหว่าง นางบุญศรี ตันติวัฒนวัลลภ กับพวก เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 8342 หมู่ 2 บ้านราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ยื่นฟ้องขับไล่ นายแอ่ว หาดทรายทอง นายวรนันท์ หาดทรายทอง นายบัญชา หาดทรายทอง และนายนิรันดร์ หลังปาน ชาวไทยใหม่ บ้านราไวย์ โดยศาลนัดอ่านคำพิพากษาเวลา 09.30 น. รวม 4 คดี โดยในการรับฟังคำพิพากษามีเพียง นายนิรันดร์ หลังปาน ชาวไทยใหม่ จำเลยในคดีดังกล่าวเข้าร่วมรับฟังคำตัดสินเพียงคนเดียว ขณะที่ฝ่ายโจทก์ไม่เดินทางมาศาลแต่อย่างใด

ชาวไทยใหม่ดีใจน้ำตาไหลพราก ศาลยกฟ้องคดีถูกขับไล่ออกพื้นที่ดิน

อย่างไรก็ตาม ในการมารับฟังคำพิพากษาในครั้งนี้ ได้มีชาวไทยใหม่ราไวย์เดินทางทางมาให้กำลังใจชาวบ้านที่มาฟังคำพิพากษาจำนวนมาก ต่างหอบเสื่อ จูงลูกจูงหลาน และนำอาหารมาร่วมรับประทานกัน เพื่อรอฟังคำพิพากษาในคดีดังกล่าว

ชาวไทยใหม่ดีใจน้ำตาไหลพราก ศาลยกฟ้องคดีถูกขับไล่ออกพื้นที่ดิน

อย่างไรก็ตาม หลังจากศาลอ่านคำพิพากษา นายนิรันดร์ ได้ลงมาแจ้งต่อชาวบ้านถึงผลการตัดสินของศาล ว่า วันนี้ ศาลนัดฟังคำพิพากษาในคดีที่ชาวไทยใหม่ จำนวน 4 ราย ถูกเจ้าของโฉนดที่ดินเลขที่ 8342 ฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่ ซึ่งศาลได้มีการไต่สวนมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยมีการพิจารณาในหลายประเด็น ซึ่งประเด็นหนึ่งที่มีการพิจารณาคือ ภาพถ่ายตอนในหลวง รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาสหาดราไวย์ เมื่อปี 2502 ซึ่งในภาพมีต้นมะพร้าวขนาดใหญ่อยู่ โดยทางโจทก์แจ้งว่า มีการปลูกมะพร้าวประมาณ 10 ปี แต่จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ต้นมะพร้าวดังกล่าวมีอายุมากถึง 30 ปี จึงเป็นข้อขัดแย้ง และข้อพิรุธ นอกจากนั้น ยังมีข้อพิรุธอีกหลายอย่างที่ศาลนำมาประกอบการพิจารณา ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องคดีดังกล่าว เพราะชาวเลมีการใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวมาก่อน

ชาวไทยใหม่ดีใจน้ำตาไหลพราก ศาลยกฟ้องคดีถูกขับไล่ออกพื้นที่ดิน

นายนิรันดร์ ยังได้กล่าวต่อไปทั้งน้ำตาถึงความรู้สึกหลังศาลอ่านคำพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าว ว่า รู้สึกดีใจ และตื้นตันใจเป็นอย่างมาก ที่พยานหลักฐานต่างๆ ที่หน่วยงานยุติธรรม และดีเอสไอ เข้ามาช่วยเหลือในการสืบหาพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อนำไปต่อสู้ในคดี จนศาลมองเห็นว่าวิถีชีวิต และชาติพันธุ์ของชาวเลมีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนาน และหลักฐานชัดเจนจึงตัดสินยกฟ้องในคดีดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดภูเก็ต ได้มีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่ นายจำเริญ มุกดี ทายาทนายทัน มุขดี เจ้าของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8342 ฟ้องขับไล่ นายจรูญ หาดทรายทอง และนางแต๋ว เซ่งบุตร โดยศาลได้วินิจฉัยว่า ชาวเลราไวย์คือผู้ที่มีสิทธิในที่ดิน และการออกโฉนดดังกล่าว เป็นการออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพิพากษายกฟ้อง ซึ่งในส่วนของคดีในที่ดินแปลงดังกล่าว มีชาวบ้านถูกฟ้องอีกหลายราย

ชาวไทยใหม่ดีใจน้ำตาไหลพราก ศาลยกฟ้องคดีถูกขับไล่ออกพื้นที่ดิน

สำหรับการเดินทางมาของชาวบ้านในวันนี้ มีชาวบ้านมาให้กำลังใจจำนวนมาก เพราะชาวบ้านไม่มั่นใจว่าจะตัดสินออกมาเหมือนกับ 2 คดีที่ผ่านมาหรือไม่ จึงเดินทางมาให้กำลังใจ และรอฟังคำตัดสินด้วย เมื่อผลออกมาว่าศาลยกฟ้อง ก็สร้างความดีใจ และตื้นตันใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ชาวบ้านรอคอย และร่วมต่อสู้กันมายาวนาน การตัดสินของศาลในครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจที่จะร่วมต่อสู้กันต่อไป และที่สำคัญคือ จะต้องขอบคุณหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาช่วยเหลือหาหลักฐานพยานต่างๆ ทั้งภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายตอนในหลวง รัชกาลที่ ๙ เสด็จประพาสหาดราไวย์ โครงกระดูก และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะโดยชาวบ้านเองเชื่อว่า ไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาต่อสู้กับเจ้าของโฉนดได้อย่างแน่นอน

ชาวไทยใหม่ดีใจน้ำตาไหลพราก ศาลยกฟ้องคดีถูกขับไล่ออกพื้นที่ดิน

นายนิรันดร์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับคดีที่เจ้าของโฉนดแปลงต่างๆ ยื่นฟ้องชาวไทยใหม่ราไวย์ มีประมาณ 117 คดี ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็มีคดีที่ชาวไทยใหม่แพ้คดีบ้าง ชนะคดีบ้าง และล่าสุด มีการสั่งยกฟ้องไปรวม 6 คดี สำหรับการต่อสู้ของชาวไทยใหม่นั้นต่อสู้ในเชิงวัฒนธรรม เอาความจริงมาคุยกัน และพยานหลักฐานต่างๆ ที่นำมาแสดง เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการยืนยันว่า ชาวไทยใหม่เข้ามาอาศัยอยู่ยาวนานแล้ว

ชาวไทยใหม่ดีใจน้ำตาไหลพราก ศาลยกฟ้องคดีถูกขับไล่ออกพื้นที่ดิน

อย่างไรก็ตาม สำหรับความเป็นมาของคดีดังกล่าว สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ชาวไทยใหม่ชุมชนราไวย์ หมูที่ 2 ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง โดยขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านคดีความ กรณีเกี่ยวกับปัญหาการพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน ซึ่งปัจจุบันมีประชากรประมาน 2,067 ครัวเรือน เนื้อที่ประมาณ 19 ไร่ อาศัยกันอย่างหนาแน่น โดยชาวเลอ้างว่าได้อยู่อาศัย และทำมาหากินในพื้นที่พิพาทต่อเนื่องกว่า 7 ชั่วอายุคน มีการตั้งบ้านเรือน มีวัฒนธรรม และวีถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ด้วยไม่รู้กฎหมาย จึงถูกบุคคลภายนอกที่เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ภายหลังแจ้งการครอบครอง ทำประโยชน์ และออกเอกสารสิทธิในที่ดิน แล้วนำเอกสารสิทธิดังกล่าวมาฟ้องขับไล่ ในเบื้องต้นศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ราษฎรชาวเลราไวย์ออกจากพื้นที่แล้ว 9 ราย คดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำพิพากษา

ชาวไทยใหม่ดีใจน้ำตาไหลพราก ศาลยกฟ้องคดีถูกขับไล่ออกพื้นที่ดิน

ทางกระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานรับเรื่องมาทำการตรวจสอบ และการปฏิบัติงานในครั้งนี้เป็นความร่วมมือของกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยเพื่อสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิชุมชนไท กรมศิลปากร สำนักงานยุติธรรมจังหวัดภูเก็ต จึงได้เข้ามาให้การช่วยเหลือ เนื่องจากการพิจารณาคดีนั้นฝ่ายชาวเลราไวย์ไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาหักล้างเอกสารสิทธิของฝ่ายโจทก์ ซึ่งออกมาจากหลักฐาน ส.ค.1 ที่มีผู้ไปแจ้งการครอบครองที่ดินของชาวราไวย์ เมื่อปี 2498 ได้ประกอบเจ้าหน้าที่ที่ดินได้ยืนยันว่า การออกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบของกรมที่ดินแล้ว ศาลจึงพิพากษาว่า เอกสารสิทธิของฝ่ายโจทก์เป็นเอกสารมหาชนที่ออกโดยรัฐ เมื่อไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาโต้แย้งสิทธิได้ สิทธิของโจทก์จึงได้มาโดยชอบ และมีคำสั่งให้ชาวเลราไวย์ ออกจากพื้นที่พิพาท

ชาวไทยใหม่ดีใจน้ำตาไหลพราก ศาลยกฟ้องคดีถูกขับไล่ออกพื้นที่ดิน

ต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ทำการสอบสวนเรื่องนี้ เพื่อหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์สิ่งที่ชาวเลกล่าวอ้าง แนะนำพยานหลักฐานเข้าสู่การการพิจารณาของศาล ซึ่งจากการรวบรวมพยานหลักฐานได้พบหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ชาวเลราไวย์ ได้อาศัยอยู่ก่อนการออก ส.ค.1 และโฉนดที่ดินของโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายทางอากาศย้อนอดีต โครงกระดูกที่ขุดค้นพบที่พื้นที่พิพาท ซึ่งตรวจ DNA แล้วมีความสัมพันธ์กับบุคคลในชุมชนในลักษณะเครือญาติ โดยเฉพาะเจ้าของบ้านที่ทำการขุดค้น นอกจากนี้ ยังพบว่าทะเบียนนักเรียนเล่มแรกของโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ ต.ราไวย์ อ.เมืองภูเก็ต พบรายชื่อชาวเลราไวย์เข้ามาศึกษา เมื่อปี 2497 (ก่อนออก ส.ค.1) ซึ่งพบว่า ชาวเลกลุ่มนั้นยังมีชีวิตอยู่บางส่วน และพยานหลักฐานอื่นๆ ซึ่งได้นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาเสนอต่อศาลจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ศาลได้พิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยชาวเลราไวย์ได้ขอรับการสนับสนุนทนายความจากกองทุนยุติธรรมผ่านยุติธรรมจังหวัดภูเก็ต

ที่มา – ผู้จัดการออนไลน์