เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner
     ปัจจุบันเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ปัจจัยทางโภชนาการและสารอาหารที่ดีนั้นย่อมส่งผลโดยตรงต่อความพร้อมและความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปแล้วหากคุณเป็นผู้ที่ออกกำลังกายหนักหรือต้องการเน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ปริมาณความต้องการโปรตีนต่อวันอาจสูงถึง 1-1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เนื่องจากการขยายขนาดและซ่อมแซมเส้นใยกล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้โปรตีนจำนวนมาก ขณะที่สัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตอาจเพิ่มเป็น 7-10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เนื่องจากกล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้ไกลโคเจนเพื่อเป็นพลังงานสำรอง ส่วนความต้องการไขมันนั้นอาจจะไม่เปลี่ยนแปลงนัก นอกจากนี้วิตามินและเกลือแร่ ต่างๆ โดยเฉพาะจากผักและผลไม้สดก็ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบเมตาบอลิซึมของเราและยังช่วยป้องกันเซลล์ต่างๆ รวมไปถึงเซลล์กล้ามเนื้อจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระอีกด้วย
 
      กรณีที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อนั้น แน่นอนว่า เวย์โปรตีน (Whey protein) ถือว่าเป็นตัวเอกที่เด่นสุดของการเสริมสร้างกล้ามเนื้อโดยตรง เนื่องจาก เส้นใยกล้ามเนื้อต้องอาศัยโปรตีนมาเป็นโครงสร้างหลัก ซึ่งเวย์โปรตีนมีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าโปรตีนชนิดอื่นๆตรงที่เป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่มีคุณภาพและครบถ้วนทั้ง 20 ชนิด และนอกจากนี้เวย์โปรตีนยังมีกรดอะมิโนที่เรียกว่า Branched Chain Amino Acid (BCAAs) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็น 3 ชนิดได้แก่ Isoleucine, Leucine และ Valine ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์คล้ายกับ Anabolic Steroid ได้ จึงทำให้ BCAAs นี้สามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ขณะที่ เวย์โปรตีน ไอโซเลทWhey Protein Isolate คุณสมบัติโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเวย์โปรตีน แต่โดดเด่นกว่าในเรื่องของกรรมวิธีสกัด โดยใช้วิธีแยกสกัดโปรตีนบริสุทธิ์จึงทำให้เวย์โปรตีนที่สกัดได้ประกอบด้วยโปรตีนเข้มข้นประมาณ 90% และที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นเวย์โปรตีน ไอโซเลท จึงเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของการย่อยน้ำตาลในนม
 
      กรณีที่ต้องการเสริมประสิทธิภาพในการสร้างกล้ามเนื้อ แนะนำให้ทาน ครีเอทีน โมโนไฮเดรต (Creatine Monohydrate) ก่อนออกกำลังกายเพื่อช่วยป้องกันความล้าจากกรดแลคติกยามเมื่อกล้ามเนื้อถูกใช้งานอย่างหนัก เพราะโดยปกติแล้วกล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากการสลาย Creatine Phosphate (CP) แต่หากออกกำลังนานๆ กล้ามเนื้อจะใช้ไกลโคเจนร่วมด้วย จนเมื่อไกลโคเจนลดลง ร่างกายจึงมีการดึงเอาพลังงานจากไขมันมาใช้ ในจังหวะนี้กล้ามเนื้อจะมีความร้อนสูงขึ้นและมีการหลั่งของกรดแลคติกที่ทำให้เกิดความเมื่อยล้า เพื่อเป็นสัญญาณป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อทำงานจนเกินขีดความสามารถ ดังนั้นหากร่างกายได้รับการเสริมครีเอทีนก็จะทำให้กล้ามเนื้อสามารถสำรองพลังงานที่เพียงพอต่อการออกกำลังกายหนักได้ จึงเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานได้นานมากขึ้นนั่นเอง
 
      กรณีที่ต้องการสารอาหารที่ช่วยให้มัดใยกล้ามเนื้อมีความสวยงามและชัดเจนมากขึ้นนั้นแอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะแอล-คาร์เนทีนจะช่วยขจัดไขมันส่วนเกินที่ซ่อนอยู่ตามเนื้อเยื่อไขมันทั่วร่างกาย โดยจะคอยลำเลียงกรดไขมันที่กระจายอยู่ในเซลล์เนื่อเยื่อไขมันไปเผาผลาญในเซลล์กล้ามเนื้อให้เกิดเป็นพลังงาน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแอล-คาร์นิทีน สามารถช่วยให้มัดใยกล้ามเนื้อมีความชัดเจนสวยงามขึ้นได้ 
 
      และทั้งหมดก็คือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามแม้ว่าโภชนาการและสารอาหารจะเป็นปัจจัยลำดับต้นๆในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อก็ตาม แต่เราจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ ประกอบกัน อาทิเช่น ชนิดของการออกกำลังกาย วิธีการฝึกและการออกกำลังด้วยท่าที่ถูกต้อง รวมไปถึงระยะเวลาและความหนักของการออกกำลังกาย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ออกกำลังกายสามารถสร้างกล้ามเนื้อได้อย่างแข็งแรงสวยงามและได้สัดส่วนอย่างที่คุณต้องการ