เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร(กทม.)แถลงภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกทม. โดยกล่าวว่า ปัจจุบันได้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้วสิ่งหนึ่งที่ประชาชนเป็นกังวลคือการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งแท้จริงแล้วพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่เกิดการแพร่ระบาดได้ตลอดทั้งปี ขณะนี้สถานการณ์พิษสุนัขบ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี56-58 ถึงปัจจุบันไม่พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว แต่ในปี59 พบมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 1ราย ซึ่งเกิดจากการถูกสุนัขกัด และไม่มีเข้ารับการรักษาฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างรวดเร็ว จนส่งผลให้เกิดการแสดงอาการและเสียชีวิตในที่สุด

ส่วนสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้านั้น ในปี59 ที่ผ่านมาพบจำนวน 32ตัว โดยพื้นที่เขตที่พบสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้ามากที่สุดคือเขตบางขุนเทียน จำนวน 17ตัว ส่วนในปี 60 พบสัตว์เป็นพิษสุนัขบ้าแล้วแล้วจำนวน 6ตัว โดยกระจายในพื้นที่เขตบางขุนเทียน พระโขนง คลองสามวา คันนายาว จตุจักรและจอมทอง
นพ.ชวินทร์กล่าวต่อว่า สุนัขยังถือเป็นสัตว์ที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้ามากที่สุด กว่า 87.5เปอร์เซ็นต์ โดยสุนัขที่พบเชื้อพิษสุนัขบ้ากว่า 70เปอร์เซ็นต์ถือเป็นสุนัขจรจัด ซึ่งการดำเนินการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้านั้น กทม.ได้วางแนวทางทั้งเชิงรุกและตั้งรับตลอดทั้งปี คือ

1.มีมาตรการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และบริการทำหมันให้แก่สัตว์ฟรีแก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ

2.แต่หากเป็นสุนัขจรจัดนั้น กทม.จะจับไปเลี้ยงดูที่ศูนย์พักพิงสุนัข ซึ่งจะให้การเลี้ยงดูจนกว่าจะหมดอายุขัย

3.มีการจัดหน่วยเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเข้าสอบสวนโรคในพื้นที่ต้องสงสัยภายใน 24ชั่วโมงหลังได้รับรายงาน อย่างไรก็ตาม สถิติการสำรวจจำนวนสัตว์เลี้ยงในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น พบมีสุนัขเลี้ยงจำนวนประมาณ 6แสนตัว และมีสุนัขจรจัดประมาณ 1แสนตัว โดยจำนวนสุนัขจรจัดถือเป็นจำนวนที่คงที่มากว่า 20ปี เนื่องจากจะมีการนำมาปล่อยทิ้งเพิ่มเติม และสุนัขมีการแพร่พันธ์เพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนสุนัขจรจัดไม่มีการลดน้อยลง ดังนั้น การเลี้ยงสุนัขขอให้ประชาชนเลี้ยงดูอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ปล่อยทิ้งขว้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อสังคม.