เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ไม่แปลกใจทำไมคนไทยกิน “เค็ม” สูง!!! สถาบันโภชนาการสำรวจ 11 อาหารไทยจานเด็ด 6 น้ำจิ้มรสแซ่บ และ 11ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จพบ “โซเดียม” สูงเกินพิกัด

ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกและโคเด็กซ์ กำหนดค่าปริมาณสูงสุดของโซเดียมที่รับได้ และไม่ทำให้เกิดอันตรายไว้ที่ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ขณะที่ประชากรไทยได้รับโซเดียมสูงถึง 4,352 มิลลิกรัมต่อวัน คิดเป็น 2.2 เท่าของปริมาณสูงสุดของโซเดียมที่รับได้และไม่ทำให้เกิดอันตราย หน่วยรับรองสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ สถาบันโภชนาการ ทำการสำรวจผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ที่มีจำหน่ายทั่วไป พบปริมาณโซเดียมในอาหารต่างๆ ดังนี้ 1. อาหารพร้อมบริโภค 1 หน่วย ค่าต่ำสุด 260 สูงสุด 1,800 เฉลี่ย 809 มิลลิกรัม 2. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 50 กรัม ค่าต่ำสุด 650 สูงสุด 1,360 ค่าเฉลี่ย 1,238 มิลลิกรัม

3. โจ๊กปรุงรส ซอง/ถ้วย 50 กรัม ต่ำสุด 463 สูงสุด 1,886 เฉลี่ย 1,240 มิลลิกรัม 4. แกงจืด/ซุป ชนิดเข้มข้นหรือชนิดแห้ง 50 กรัม ต่ำสุด 205 สูงสุด 5,125 เฉลี่ย 2,150 มิลลิกรัม 5. ซุปก้อน/ผงปรุงรส 10 กรัม ต่ำสุด 1,000 สูงสุด 2,000 เฉลี่ย 1,440 มิลลิกรัม 6. น้ำปลา 15 กรัม ต่ำสุด 770 สูงสุด 1,620 เฉลี่ย 1,230 มิลลิกรัม 7. ซีอิ๊ว 15 กรัม ต่ำสุด 560 สูงสุด 1,600 เฉลี่ย 1,095 มิลลิกรัม 8. มันฝรั่งทอด/อบ 30 กรัม ต่ำสุด 55 สูงสุด 786 เฉลี่ย 160 มิลลิกรัม 9. ข้าวเกรียบ 30 กรัม ต่ำสุด 29 สูงสุด 1,048 เฉลี่ย 210 มิลลิกรัม 10. ข้าวโพดอบกรอบ 30 กรัม ต่ำสุด 20 สูงสุด 500 เฉลี่ย 160 มิลลิกรัม และ 11. แครกเกอร์ 30 กรัม ต่ำสุด 15 สูงสุด 500 เฉลี่ย 140 มิลลิกรัม

“นอกจากนี้ ยังได้สำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารไทย 11 ชนิดต่อหน่วย พบปริมาณโดยประมาณ ได้แก่ 1. แกงเขียวหวาน 625 มิลลิกรัม 2. แกงส้ม 850 มิลลิกรัม 3. แกงเลียง 600 มิลลิกรัม 4. ต้มข่าไก่ 700 มิลลิกรัม 5. ต้มยำกุ้ง 1,000 มิลลิกรัม 6. น้ำพริกกะปิและผัก 650 มิลลิกรัม 7. น้ำพริกมะขามและผัก 625 มิลลิกรัม 8. ห่อหมกใบยอ 400 มิลลิกรัม 9. ผัดเผ็ดปลาดุก 750 มิลลิกรัม 10. ยำถั่วพู 450 มิลลิกรัม และ 11. ทอดมันปลา 650 มิลลิกรัม และค่าโดยประมาณของปริมาณโซเดียมในน้ำจิ้ม 6 ชนิดต่อ 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 15 กรัม คือ 1. น้ำจิ้มข้าวมันไก่ 332 มิลลิกรัม 2. น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ 139 มิลลิกรัม 3. น้ำจิ้มสุกี้ 277 มิลลิกรัม 4. น้ำจิ้มข้าวหมกไก่ 377 มิลลิกรัม 5. น้ำจิ้มกุยฉ่าย 428 มิลลิกรัม และน้ำราดข้าวหมูแดง 200 มิลลิกรัม” ผศ.ดร.วันทนีย์ กล่าว

ที่มา – manager