เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ดอกไม้ที่เราเห็นสีสันสดใส สวยงาม น่ามอง และแฝงด้วยคุณประโยชน์อย่างมากมาย อย่างน่ามหัศจรรย์ วันนี้จึงมีประโยชน์ของดอกไม้ชนิดต่างๆมาบอกเล่าเก้าสิบให้ทุกๆคนฟังค่ะ ว่ากันแล้วเราไปดูสรรพคุณของเจ้าดอกไม้เหล่านั้นกันพร้อมๆกันค่ะ

ดอกแก้ว1. ดอกแก้ว : ดอกเล็กสีขาวสะอาด มีกลีบ 5 กลีบ เกสรสีขาวปนเหลืองหอม กลิ่นแรง ผลคล้ายมะแว้งลูกเขื่อง ๆ เป็นยาขับประจำเดือน เรียกว่ายาประสะใบแก้ว ใช้เป็นยาแก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ผายลม บำรุงโลหิตดอกจำปา2. ดอกจำปา: ดอกเป็นกลีบยาว สีเหลืองจัด สีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นหอม ดอกมีรสขม เปลือก ราก ใช้รักษาโรคเรื้อน หิด ฝีที่มีหนอง ดอกและเมล็ดใช้ทำยาแก้ไข้ แก้โรคธาตุเสีย คลื่นเหียน อาเจียน วิงเวียนศรีษะA34-193. ดอกบัวหลวง: เกสร เกสรบัวหลวง เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ผสมในยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะดอกบุนนาค4. ดอกบุนนาค : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุและขับลม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ใช้เป็นส่วนผสมในยาหอมบรรเทาอาการหน้ามืด วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ส่วนใบใช้รักษาและสมานแผลสด โดยนำมาโขลกละเอียดแล้วพอกไว้ที่แผล

ดอกพิกุล5. ดอกพิกุล : มีกลิ่นหอม จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า เข้ายาหอม บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอ น้ำมันหอมระเหยจากดอก ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยดอกลำดวน6. ดอกลำดวน : ดอกแห้งจัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเก้า เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลมดอกสายหยุด7. ดอกสายหยุด : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ ต้นและดอกสารพี8. ดอกสารภี : ดอกแห้ง ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ชูกำลัง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้าดอกขี้เหล็ก9. ดอกขี้เหล็ก : ต้นขี้เหล็กเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ ราก ลูก ดอก ใบ รวมกัน รับประทานเป็นยาถ่ายพิษ กษัย พิษ ไข้ พิษเสมหะ เหน็บชาดอกเข็มแดง10. ดอกเข็มแดง : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ให้ประโยชน์ทางยา รากแก้เสมหะ แก้กำเดา บำรุงไฟธาตุ แก้บวม แก้ตาพิการ ดอกนำมาชุปแป้งทอดเป็นเหมือดในขนมจีนน้ำพริกoriginal_flo511. ดอกคัดเค้า : มีสรรพคุณในทางยา มีรสฝาด แก้โลหิตเป็นพิษ และขับเสมหะ แก้ไข้ ใช้ใบแก้โลหิตซ่าน ดอกแก้โลหิตในกองกำเดา ผลใช้ขับโลหิต ประจำเดือน ต้นใช้บำรุงโลหิต รากแก้วต้ม แก้โลหิตออกตามไรฟัน ผลใช้ต้มดื่ม ขับฟอกโลหิตเน่าเสียของสตรี และใช้เป็นยาบำรุงโลหิตดอกมะลิ 12. ดอกมะลิ : เราสามารถใช้มะลิสดหรือแห้งประมาณ 1.5-3 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคบิด แก้ปวดท้อง หรือ ใช้เฉพาะดอกสด นำมาตำให้ละเอียดแล้วพอก ขมับแก้ปวดศรีษะ ส่วนดอกมะลิที่โรยคาต้น อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้ไร้ประโยชน์ เราสามารถเก็บมาชงเป็นชาได้ ดื่มขณะร้อน ๆ ก็จะได้รสชาติดี มีกลิ่นหอมชื่นใจดอกทานตะวัน13.ดอกทานตะวัน : สามารถใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยขับลม ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำให้ตาสดใส และรักษาอาการบวมตึง นอกจากนี้ให้ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้วประมาณ 25-30 กรัม นำมาตุ๋นกับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง ช่วยแก้อาการปวดท้องโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และปวดท้องน้อย หรือระยะที่เป็นรอบเดือน ให้ใช้ฐานรองดอก 1 ฐาน ต้มใส่น้ำตาลทรายแดงประมาณ 30 กรัม กรองเอาแต่น้ำรับประทานดอกทับทิม14. ดอกทับทิม : ดอกทับทิมที่แห้งแล้วประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มแล้วกรองเอาน้ำดื่มช่วยให้เลือดกำเดาแข็งตัว และถ้าหากเลือดกำเดาไหลไม่หยุด ให้ใช้ดอกทับทิมสดโขลกหรือหั่นฝอยแล้วนำไปอุดรูจมูกเอาไว้ดอกบวบ15. ดอกบวบ : นำไปปรุงอาหารช่วยให้เจริญอาหาร หรือใช้ดอกสด โขลกละเอียดผสมเกลือเล็กน้อยใช้รักษาโรคหูด โดยทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆดอกกุหลาบมอญ1ุ6. ดอกกุหลาบมอญ: แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงหัวใจ เป็นยาระบายอ่อนๆ นิยมใช้แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอางดอกกล้วย17. หัวปลี: หรือส่วนช่อดอกของต้นกล้วย หัวปลีนั้นมีประโยชน์มากมาย ไม่เพียงแต่มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยยับยั้งการกลายพันธุ์ของเซลล์ไม่ให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง แต่ยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่เหมาะสมกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม และวิตามินอี อีกทั้งยังมีไฟเบอร์สูง และแคลอรีไม่สูงจนเกินไปอีกด้วยดอกแค118. ดอกแค: ดอกแคนี้มีสรรพคุณดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้โรคบิด แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน อุจจาระร่วง ทั้งนี้ในการแพทย์แผนอายุรเวทก็ยังมีการนำดอกแคมาคั้นเป็นน้ำแล้วนำไปใช้ในการรักษาริดสีดวงจมูก แก้ปวดศีรษะได้ หรือจะนำส่วนที่เป็นใบมาตำพอกรักษาแผลช้ำได้ แถมเจ้าดอกแคนี้ยังมีโปรตีนสูงอีกด้วยเฟื่องฟ้า 19. ดอกเฟื่องฟ้า: ดอกเฟื่องฟ้ามีหลากหลายสีสันที่สวยงาม แต่ที่ถือว่ามีสรรพคุณโดดเด่นในการช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งได้ก็น่าจะเป็นดอกเฟื่องฟ้าที่มีสีม่วง แดง และชมพู เนื่องจากทั้งสามชนิดนี้มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สูง นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาพบแล้วว่า ช่วยป้องกันการติดเชื้อ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยในการคุมกำเนิด รักษาอาการไอและเจ็บคอ บำรุงเลือดและขับระดูขาวในผู้หญิง อีกทั้งช่วยลดความดันโลหิต และบำรุงหัวใจ

ดอกโสน20. ดอกโสน: ดอกโสน ซึ่งเป็นพืชที่มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซิน และวิตามินซีสูง ที่แค่เพียงรับประทานเข้าไปก็ได้ผลดีบำรุงกระดูกให้แข็งแรง บำรุงสมอง อีกทั้งช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ และมีการศึกษาพบว่าในดอกโสนมีสารเควอเซทิน ไกลโคไซด์ ซึ่งเป็นสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ มีฤทธิ์ในการทำลายและยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งได้ดอกอัญชัญ     21. ดอกอัญชัน: สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่มีอยู่ในดอกอัญชันจะช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งได้ สารชนิดนี้ก็ยังมีส่วนสำคัญในการบำรุงเส้นผมให้เงางาม อย่างที่เราเคยเห็นว่ามักจะมีการนำดอกอัญชันมาหมักผม หรือนำไปทาบริเวณคิ้วเด็กให้คิ้วดกดำขึ้น สารแอนโทไซยานิน ยังช่วยบำรุงสายตา กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือด และช่วยบรรเทาภาวะเสื่อมสภาพของดวงตา

   เราจะเห็นว่าดอกไม้นอกจากความสวยงามแล้ว ยังมากล้นด้วยคุณประโยชน์อย่างมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ฉะนั้นแล้วคนรักสุขภาพคงไม่พลาดที่จะนำดอกไม้เหล่านี้มาประกอบอาหารรับประทานเพื่อสุขภาพดีแข็งแรง ห่างไกลโรคนะคะ

ที่มา – Kaijeaw