เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศเตือน ปชช. หลังหวั่นว่า จะเกิดเหตุการแบบนี้ซ้ำอีกในช่วงหน้าฝนนี้  อย่าง “กรณีหนุ่มแม่ฮ่องสอนเก็บเห็ดพิษมากินแกล้มเหล้าเสียชีวิต”

วันนี้ ทีมข่าว MThai จึงได้นำข้อมูลและสาระประโยชน์จาก กรมควบคุม เกี่ยวกับ เห็ดที่สามารถรับประทานทานและทานไม่ได้  รวมไปถึงขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ที่กินเห็ดพิษในเบื้องต้น เพื่อเตือนทุกท่าน และหวังเป็นอย่างยิ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน

เริ่มกันที่ “เห็ดที่สามารถรับประทานได้”  ได้แก่

  • เห็ดแดงกุหลาบ , เห็ดไข่เหลือง , เห็ดระโงกขาว , เห็ดโคน ,เห็ดโคนฟาน , เห็ดก่อเหลือง , เห็ดกูด , เห็ดไข่ , เห็ดตับเต่า ,เห็ดน้ำแป้ง , เห็ดหล่มกระเจียว , เห็ดข้าวเหนียว , เห็ดพุงหมู , เห็ดข้าวเหนียว , เห็ดเพาะ (ไม่มีราก) , เห็ดมันปู , เห็ดจั่น

ส่วน “เห็ดที่ไม่สามรถรับประทานได้”  ได้แก่

  • เห็ดระโงกเหลืองก้านต้น , เห็ดระโดงตีนต้น , เห็ดคล้ายเห็ดโคน , เห็ดตอมกล้วยแห้ง , เห็ดข่า , เห็ดขี้ควาย , เห็ดระโงกหิน , เห็ดไข่ , เห็ดมันปู่ใหญ่ , เห็ดดอกกระถิน , เห็ดแดงก้านแดง , เห็ดเผาะ(มีราก) , เห็ดขี้วัว , เห็ดไข่หงษ์ , เห็ดโคนส้ม

นอกจากนี้ผู้ใดที่รับประทานเห็ดพิษเข้าไปในร่างกายจะเกิดอาการ

  • คลื่นไส้ , อาเจียน , ปวดท้อง , ถ่ายอุจจาระเหลว , อาจมีอาการรุนแรงตามมา คือ การทำงานของตับและไตล้มเหลว  สำหรับท่านที่ชอบรับประทานเห็ดต้องสังเกตุพฤติกรรมเหล่านี้ไว้ให้ดี

และเมื่อเกิดอาการเหล่านี้เราต้องรีบทำการช่วยเหลือเบื้องต้นทันที โดยเริ่มจากการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยการล้วงคอหรือกรอกไข่ขาว จากนั้นรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที

“ฝนมา เห็ดมา” คนที่ชอบกินเห็ดต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน จะได้อร่อยและปลอดภัย