เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายเกรียงพล พัฒนรัฐ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกับนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ประชุมหารือการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน

โดยนายจตุพร กล่าวว่า ปัจจุบันขยะของเสียอันตรายมีการเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งเกิดจากการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างไรขีดจำกัด โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นขยะอันตรายเพิ่มมากขึ้น โดยขยะในกลุ่มดังกล่าว หากนำไปกำจัดไม่ถูกต้อง จะเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม และส่งผลต่อร่างกายประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ได้ โดยปัจจุบันขยะอันตราย กทม.จะเป็นผู้จัดเก็บ และนำไปกำจัดตามระบบที่ถูกต้อง แต่การจัดเก็บดังกล่าว ไม่สามารถจัดเก็บได้ตามจำนวนขยะอันตรายที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด ดังนั้นกรมควบคุมมลพิษ จึงวางแนวทางร่วมกับกทม. เพื่อหาแนวทางให้ประชาชนสามารถมีจุดที่ทิ้งขยะอันตรายได้โดยง่าย เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคประชาชนำขยะดังกล่าวไปกำจัดเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างมาก โดยจะร่วมประสานภาคเอกชน เพื่อจุดพื้นที่ทิ้งขยะอันตรายต่างๆ อาทิ สถาบันการศึกษา คอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรร สถานประกอบการขนาดใหญ่ โดยจะเร่งการสร้างความร่วมมือเพื่อดำเนินให้เกิดผลอย่างเป็นรูปแบบมากที่สุด

ด้านนายเกรียงพล กล่าวว่า ขยะอันตราย อาทิ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  เป็นซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่มีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ อาทิ ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท เป็นต้น หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีและเกิดการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น สามารถจัดเก็บขยะได้วันละประมาณ 10,000 ตัน โดยคาดการณ์ว่าในแต่ละวันจะเกิดขยะอันตรายประมาณ 30 ตัน แต่กทม.สามารถจัดเก็บขยะอันตรายเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกต้องได้เพียงกว่า 2 ตันเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ขยะอันตรายหลุดจากระบบกำจัดที่ถูกต้องจำนวนมาก ดังนั้น การกำหนดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถนำขยะอันตรายมาทิ้งได้อย่างสะดวก จะเป็นส่วนทำให้ขยะอันตรายเข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง และส่งต่อไปกำจัดอย่างถูกวิธีมากที่สุด
ทั้งนี้ การกำจัดขยะของเสียอันตรายนั้น กทม.ได้ว่าจ้างเอกชนที่มีใบอนุญาตการกำจัดขยะอันตรายจากกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ดำเนินการกำจัด โดยค่าจ้างกำจัดอยู่ที่ประมาณ 11,000 บาท ต่อตัน