เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. บีบีซีรายงานว่าถึงสภาพการทำงานในญี่ปุ่นที่มีเวลาทำงานยาวนานที่สุดในโลก จนทำให้ลูกจ้างวัยหนุ่มสาวบางคนถึงเสียชีวิตจากวัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่น

เหตุสลดหนึ่งเป็นกรณีของนายนาโอะยะ ลูกชายของนางมิชิโยะ นิชิงะกิ ที่ได้งานหลังเรียนจบในบริษัทด้านเทเลคอมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และด้วยความรักในคอมพิวเตอร์และโอกาสที่ดีในการงานจึงทำให้บุตรชายโหมงานหนัก

นางมิชิโยะกล่าวว่า ลูกชายของตนมักจะทำงานจนรถไฟเที่ยวสุดท้ายให้บริการ หากพลาดก็จะนอนในที่ทำงาน และที่แย่ที่สุดคือบางครั้งลูกชายต้องทำงานข้ามวันข้ามคืนตั้งแต่ราวสี่ทุ่มไปถึงช่วงเย็นของอีกวันหนึ่ง

นางมิชิโยะ คุณแม่ของนายนาโอยะ ผู้ตาย / bbc

หลังจากนั้น 2 ปี นาโอยะก็เสียชีวิตด้วยวัย 27 ปี ขณะที่มีการลงบันทึกการเสียชีวิตของนาโอยะอย่างเป็นทางการว่า เสียชีวิตด้วยสาเหตุคาโรชิ หรือการตายจากการทำงานหนักเกินไป

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่ยาวนานกว่าประเทศอื่นๆ นับตั้งแต่มีการบันทึกผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักที่สูงที่สุดในคริตส์ศตวรรษที่ 60

BBC

นอกจากนี้ในปี 2558 ยังเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นหลังพนักงานบริษัทโฆษณาหญิงวัย 24 ปีกระโดดตึกฆ่าตัวตายด้วยสาเหตุจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ และทำโอที หรือทำงานล่วงเวลาเกินกว่า 100 ชั่วโมงต่อเดือน จนนำไปสู่การตายอย่างไม่คาดฝัน

สาเหตุคาโรชิส่งผลข้างเคียงหลายประการไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดเลี้ยงสมอง หรือกระทั่งแนวคิดการฆ่าตัวตาย ซึ่งกว่า 1 ใน 4 ของบริษัทญี่ปุ่นที่มีพนักงานทำงานเกินเวลากว่า 80 ชั่วโมงต่อเดือนและส่วนใหญ่ไม่ได้รับค่าจ้างล่วงเวลา

แม้ว่าจะมีบริการสายด่วนเพื่อช่วยพนักงานวัยรุ่นในการหาทางออกเรื่องการทำงาน โดยนายมาโกโตะ อิวาฮาชิ พนักงานขององค์กรที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มพนักงานวัยรุ่นระบุว่า ตนได้รับเรื่องบ่นมาเยอะสำหรับเวลาการทำงานที่มากเกิน แต่คนวัยรุ่นไม่มีทางเลือกอื่น ถ้าไม่ลาออกก็ต้องทำงานล่วงเวลาร้อยชั่วโมง

ด้วยสาเหตุของความมั่นในอาชีพการงานที่ลดลง ทำให้การทำงานเกินเวลาเป็นเรื่องจำเป็น นายอิวาฮาชิระบุเพิ่มว่าในช่วงคริตส์ศตวรรษที่ 60-70 การทำงานเกินเวลาช่วยการันตีความมั่นคงในการงาน แต่ปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้น

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นถูกกดดันอย่างหนักในการดำเนินมาตรการเพื่อยุติวัฒนธรรมการทำงานอันเก่าแก่และสุดโต่ง อย่างการห้ามออกจากที่ทำงานก่อนหัวหน้า ซึ่งเมื่อต้นปีนี้รัฐบาลได้เสนอโครงการพรีเมี่ยมฟรายเดย์ หรือ วันศุกร์คุ้มค่า ที่จัดให้พนักงานเลิกงานไวขึ้นในทุกๆ ศุกร์สุดท้ายของเดือน

มากกว่านั้นรัฐบาลก็ยังต้องการให้คนญี่ปุ่นพักร้อนมากขึ้น ซึ่งปีหนึ่งพักร้อนได้ 20 วัน แต่มีพนักงานญี่ปุ่นใช้วันพักร้อนเพียงแค่ร้อยละ 35 เท่านั้น

ขณะที่สำนักงานบางแห่งอย่าง สำนักงานส่วนปกครองท้องถิ่นที่บังคับให้พนักงานทุกคนกลับบ้านก่อน 19.00 น. โดยนายฮิโตชิ อูเอโนะ ผู้จัดการของสำนักงานดังกล่าวระบุว่าทางเราต้องทำอะไรที่เห็นได้ชัด เราไม่เพียงแค่ลดเวลาทำงาน แต่เรายังอยากให้ผู้คนมีประสิทธิภาพและตื่นตัว ดังนั้นทุกคนควรจะหวงแหนและสนุกกับเวลาว่าง เราต้องการเปลี่ยนบรรยาการทำงาน

แต่ก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นต้องจัดความสำคัญระหว่างสวัสดิการพนักงานกับธุรกิจและเศรษฐกิจ ซึ่งนางนิชิงะกิมองว่าแทนประเทศนี้จะหวงแหนลูกจ้างทุกๆ แต่กลับฆ่าพวกเขา