เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

วันนี้ทางเราจะพาทุกท่านเข้าไปยังสมัยกรุงศรีอยุธยาเมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์จะพาไปเปิดเกร็ดความรู้เรื่องระบบเงินตราในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนยุคนั้นใช้สิ่งใดซื้อ ขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน และมาตราเงินไทยสมัยนั้นเป็นอย่างไร
“เงินตรา” ก็คือ วัตถุสิ่งของที่ใช้เป็นตัวกลางในการ ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งหากย้อนไปๆภายในอดีดก็จะเห็นถึงการใช้เงินตราเพื่อนำมาแลกสิ่งของ เช่น เมล็ดพืช ลูกปัด เปลือกหอย เรื่อยมาจนถึงเหรียญกษาปณ์และธนบัตรเฉก เช่นปัจจุบัน แต่เชื่อว่าหลายคนที่ได้ชมละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส เมื่อได้เห็น แม่หญิงการะเกด รวบรวมเบี้ยในฉากที่แม่การะเกดไปซื้อมุ้งให้บ่าวไพร่ ก็คงสนใจใคร่รู้ว่า แล้วเงินตราที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นคืออะไร และมีมาตราเทียบอย่างไรบ้าง วันนี้ทางเราจะพาไปดูเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาเล่าให้ฟัง

โบราณเล่ากันสืบรุ่นลูกรุ่นหลาน มาถึง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา มนุษย์ได้ประดิษฐ์เงินตราขึ้นมาใช้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้ามานมนานแล้ว ตั้งแต่ยุคฟูนัน พุทธศตวรรษที่ 6 ยุคทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11  ยุคศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 และยุคลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 12 กระทั่งในพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรสุโขทัย ได้ผลิตเงินพดด้วงขึ้นเป็นครั้งแรกและใช้สืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หากข้อมูลดังกล่าวนี้ผิดพลาดประการใดต้องขอภัยไว้ที่นี้ด้วย ออเจ้า