เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

              ดูละครแล้วย้อนดูตน..สิ่งที่ได้รับจากละครจะมีประโยชน์มากนักหนา ซึ่งหนึ่งในฉากของละคร บุพเพสันนิวาส ที่อยากพูดถึงก็คือ ฉากที่ การะเกด พูดกับ พระเพทราชา เรื่อง การที่พระมหากษัตษย์ ต้องมีทศพิธราชธรรม ในการปกครองประเทศ

  ทศพิธราชธรรม คืออะไร ? ทีวีพูล ได้ไปค้นหาและนำมาบอกต่อดังนี้ออเจ้า

ทศพิธราชธรรม คือ จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่

๑. ทาน (ทานํ) คือ การให้

๒. ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ

๓. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขสวนตนเพื่อความสุขส่วนรวม

๔. ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน

๕. ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน

๖. ความเพียร (ตปํ) คือ ความเพียร

๗. ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ การไม่แสดงอาการโกรธ

๘. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ การดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลาง การผลิต การบริโภคที่สมดุลไม่เน้นประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันแย่งชิงจนเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นและทำลายสิ่งแวดล้อม

๙. ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว

๑๐. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก

TV Pool OnlineTV Pool OnlineTV Pool OnlineTV Pool OnlineTV Pool OnlineTV Pool Online