เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ความลวง

เรื่องนี้เป็นที่เชื่อถือกันอย่างแพร่หลาย มานานแล้ว และผู้ใหญ่ก็มักจะห้ามไม่ให้เด็กๆ อ่านหนังสือในที่มืดหรือที่ที่มีแสงสว่างน้อย มิฉะนั้นแล้วจะสายตาสั้นและต้องสวมแว่น เป็นต้น

ความเชื่อนี้น่าจะมาจากจักษุแพทย์ที่บอกว่าหากใช้สายตาในที่แสงสว่างน้อยกว่าปกติ จะมีผลต่อการรับภาพของประสาทตา

ความจริง

ปัจจุบันนักวิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตายังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่าการอ่านหนังสือในที่มืด จะทำลายสุขภาพตาอย่างถาวร แต่สามารถทำให้ดวงตาย่ำแย่และการมองเห็นด้อยลง ทำให้อัตราการกระพริบตาลดลง ตาแห้งและระคายเคือง เป็นเวลาชั่วครั้งชั่วคราวได้

การอ่านหนังสือหรือเพ่งมองวัตถุที่อยู่ใกล้ในที่มืดทำให้ตาคุณล้าได้ ในที่ที่มีแสงน้อย ระดับความเปรียบต่าง (contrast) จะลดลงระหว่างตัวอักษรสีดำที่อยู่บนหน้ากระดาษสีขาว และเพื่อทำให้คุณอ่านได้ชัด คุณอาจจะต้องเขยิบหนังสือเข้าใกล้ตาของคุณ ขณะที่คุณทำเช่นนี้ กล้ามเนื้อตา (ciliary muscles) รอบเลนส์ตาจะหดตัวทำให้เลนส์เปลี่ยนรูปร่างไปส่งผลให้เข้าไปยังจุดโฟกัสมาก(ในทางอ้อม) ที่อยู่ด้านหลังตา ขณะที่ลูกตาทำการปรับด้วยกระบวนการเหล่านี้นั้น อาจทำให้ปวดหัว หรือปวดตาได้ แต่เหตุผลที่จริงของอาการปวดนั้นมักมาจากการเกร็งของกล้ามเนื้อจากการใช้สายตา ไม่ได้เกิดมาจากระดับความมืดที่เราจ้องวัตถุอย่างใกล้ๆ แต่อย่างใด แพทย์ส่วนใหญ่กล่าวว่าอาการดังกล่าวไม่มีอันตรายแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม สำหรับเด็ก มีแพทย์บางคนที่กล่าวว่ามันอาจจะไปเพิ่มโอกาสสายตาสั้นในเด็กเล็กได้ ถ้ากล้ามเนื้อตาของพวกเขาทำงานหนักเกินไป พวกเขาชี้ไปยังการศึกษาต่างๆ ที่เชื่อมโยงโอกาสการเกิดสายตาสั้นที่สูงกับวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการอ่านและการศึกษาในตอนเด็ก

จากการศึกษาด้วยสถิติ พบว่าอาการสายตาสั้น เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์มากกว่า เช่น กรณีพ่อ-แม่ไม่มีกรรมพันธุ์สายตาสั้น ลูกที่เกิดมามีโอกาสสายตาสั้นเพียง 8.7% แต่อัตราส่วนนี้จะยิ่งสูงถ้าพ่อแม่มีสายตาสั้น และถ้าหากยิ่งเป็นพันธุ์แท้ คือ มีพ่อ-แม่ สายตาสั้นและ มีลุงป้าน้าอา สายตาสั้นด้วย โอกาสสายตาสั้นจะขึ้นไปถึง 43% เลยทีเดียว

สรุป

เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์มากกว่า ส่วนปัจจัยรอง อาจเกิดจากการใช้สายตาในการเพ่งมาก แต่ไม่เกี่ยวว่ามืดหรือสว่าง ดังนั้นตอนอ่านหนังสือถ้าเพ่งตลอดก็อาจสายตาสั้นได้เหมือนกัน