เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner
บ้านเรือนไทยภาคเหนือ เป็นเรือนยกใต้ถุนสูง คล้ายเรือนไทยภาคกลาง แต่มีลักษณะอื่นๆ แตกต่างกันมาก เพราะดินฟ้าอากาศ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน ฤดูหนาวหนาวกว่าภาคกลางมาก ทำให้ลักษณะเฉพาะทางรูปทรงหลังคา และสัดส่วนของเรือนเตี้ยคลุ่มมากกว่า เจาะช่องหน้าต่างแคบๆ เล็กๆ กันลมหนาว การจัดกลุ่มอาคาร และการวางแปลนห้องต่างๆ มีความสมดุลแบบสองข้างไม่เหมือนกัน และเชื่อมต่อเรือนเหล่านั้นด้วยชานอย่างหลวมๆ เรือนทุกรูปแบบมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ และมีคุณค่าทางศิลปะด้านสถาปัตยกรรมอย่างดียิ่ง เราจะพบเรือนทางภาคเหนือ ในลักษณะใหญ่ๆ ได้ ๒ แบบ คือ เรือนไทยดั้งเดิมและเรือนพื้นบ้าน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ้านเรือนไทยแบบภาคเหนือ

เป็นเรือนไทยยกใต้ถุน สูง หลังคาทรงจั่ว นิยมทำหลังคาแฝดติดกัน มีรางน้ำตรงกลาง ข้างบนสุดของหลังคา ทำไม้ไขว้แกะสลัก เรียกว่า “กาแล” เพื่อตกแต่งให้เกิดความงาม และเป็นคติความเชื่อถือเกี่ยวกับโชคลาง และการบูชา ลักษณะรูปทรงเป็นแบบฝาล้ม ผายออก เป็นศิลปะ และวัฒนธรรมแบบล้านนาไทยดั้งเดิม (ตรงข้ามกับเรือนไทยภาคกลาง ที่ฝาล้มสอบเข้า)

 
            เรือนประเภทนี้ มีวิธีการก่อสร้าง และ ฝีมือช่างที่ละเอียดประณีต เป็นเรือนที่ถาวร และทนทาน มีอายุอยู่ได้ถึง ๑๐๐ ปีขึ้นไป จะพบได้ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอใกล้เคียง ในจังหวัดเชียงใหม่ และในจังหวัดลำปาง เรือนประกอบด้วย อาคารอย่างน้อย ๒ หลัง หลังใหญ่ใช้เป็นที่หลับนอน มีห้องนอน และระเบียง (เติ๋น) ส่วนหลังเล็กใช้ทำเป็นครัวปรุงอาหาร เชื่อมเรือนทั้งสองด้วยชาน ด้านหนึ่งของชานเป็นบันได และร้านน้ำ (ร้านน้ำ คือ เรือนหลังเล็กๆ มีหลังคา อยู่ริมนอกชานชั้นบน ใช้สำหรับตั้งตุ่มน้ำดื่ม)