อาการผิดปกติดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของทารกน้อย ถูกเรียกว่า “โรคขนแปรง” หรือ “โรคขนแปลง” หรือขนคุดโดยมักเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิดไปจนถึง 3 สามเดือน ความที่รอยโรคดูไม่น่ามอง ทำให้เกิดความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว อาทิ โรคนี้ทําให้เด็กร้องไม่หยุด นอนไม่หลับ นอนผวา ขากระตุก และขนที่อยู่ในตุ่มดําก็มีพิษตำเส้นประสาท บางคนนำฟองน้ำหรือหมากตำละเอียดไปขัดผิวเบบี๋เพราะเชื่อว่าจะทำให้หายได้
การรักษา
โรคขนคุด ไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ โดยคุณหมอจะใช้ยาทา เพื่อให้สารเคอราตินที่อุดตันรูขุมขนหลุดออก โดยทั่วไปอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-3 เดือน หลังการรักษา แต่มักจะมีอาการกลับมา เมื่อหยุดการดูแลรักษาผิวโดยเฉพาะหากปล่อยให้ผิวแห้ง ไม่รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง
หลักในการดูแลผิว คุณหมอได้แนะนำว่า ควรใช้สบู่อ่อน สำหรับผิวแห้งหรือผิวแพ้ง่าย เช่น สบู่เด็กอ่อน งดอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน งดการขัดผิว และหมั่นทาโลชันให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเช้า-เย็น และทาได้บ่อยขึ้นอีกบริเวณผิวที่แห้ง ถ้ามีอาการมาก คุณหมออาจให้ใช้ยาอนุพันธุ์ของวิตามินเอ ชนิดทา ยาทาสเตียรอยด์ ใช้ในช่วงที่ตุ่มของโรคขนคุดมีอาการ แดง คัน อักเสบ มาด้วย และปัจจุบันมีการใช้เลเซอร์เป็นทางเลือกในการรักษาอีกทางหนึ่งสำหรับเด็กโตและวัยรุ่นด้วยค่ะ
by TVPOOL ONLINE