เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

การกินอาหารสุกๆ ดิบๆ เป็นวิธีการกินแบบหนึ่งที่คนไทยจำนวนมากนิยมกินกัน โดยเฉพาะอาหารพื้นถิ่นทางภาคอีสานหรือเหนือที่คุ้นเคยกันดี กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการเตือนประชาชนที่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ดิบๆ สุกๆเป็นอันตรายเสี่ยงได้สารพัดโรค

พฤติกรรมการกินดิบ เป็นสาเหตุของโรคร้ายได้อีกมากมาย ทั้งจากเชื้อโรคที่มองไม่เห็น และจากพยาธิที่อยู่ในเนื้อสัตว์ และเนื้อปลา ที่กระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายจะป้องกันและควบคุมโรคในกลุ่มเสี่ยงชัดเจน ได้แก่ กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และประชาชนทั่วไป ให้ป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารมีทั้งหมด 7 โรค ได้แก่

1.โรคอุจจาระร่วง อาการที่ปรากฏจะคล้าย กันคือ ปวดท้อง มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ส่วนใหญ่เชื้อพวกนี้มักจะหายเองได้ใน 2-3 วัน เว้นคนไข้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำอาจจะเสียน้ำ เสียเกลือแร่ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

2. โรคอหิวาตกโรค (Cholera) อหิวาตกโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผู้ป่วยถ่ายเหลวเป็นน้ำ คล้ายน้ำซาวข้าว หากอาการไม่รุนแรงมักหายได้เองภายใน 1-5 วัน แต่หากถ่ายเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีมูกเลือด จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ทำให้ช็อคและอาจเสียชีวิตได้

3. บิด (Dysentery) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหาร น้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค อาหารดิบๆ สุกๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบิดในท้อง ต่อมาจะเริ่มไข้ขึ้น และถ่ายเหลว รวมถึงอาจปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการท้องเดินเป็นบิด อาจหายได้เองภายใน 5-7 วัน บางรายก็อาจมีอาการกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

4. โรคเอ็นเทอริก (Enteric) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเขาในกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทําให้เกิด อาการไข้สูงลอย ปวดศีรษะและหนาวส่ัน ออนเพลีย เบื่ออาหาร ทองอืด ปวดท้องหลายวันจึงจะถายอุจจาระ เหลว มีกลิ่นเหม็น ม้ามโต ชีพจรเต้นช้า เมื่อเทียบกับอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นจากไข้ อาจมีภาวะที่เลือดแข็งตัวกระจายไปทั่วรางกาย ในระยะท้ายของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีไข้ เหงื่อออก ชีพจรเต้นช้า ซึม ความไวของประสาทรับเสียงลดลง ต่อมน้ําลายหนา และหูอาจเกิดการอักเสบ

5. ไทฟอยด์(Thyphoid) การติดต่อเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารหรือน้ำดื่ม ซึ่งไข้ไทฟอยด์จะมีอาการแบบเฉียบพลัน รายที่เป็นรุนแรงอาจเสียชีวิตได้

6. อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) เกิดจากสารพิษ (Toxin) ของแบคทีเรียตกค้างอยู่ในอาหารที่ไม่สะอาดพอ สุกๆ ดิบๆ หรือบูดเสีย ทำให้เกิดท้องเสีย หากเป็นไม่มากถ่ายเป็นน้ำแต่ไม่มีมูกเลือด ไม่มีไข้ ส่วนใหญ่หายได้เอง แต่ถ้าเป็นมากต้องได้รับน้ำเกลือเสริม อาจอยู่ในรูปแบบของการดื่ม หรือการให้ทางเส้นเลือดแล้วแต่ความรุนแรง

7.โรคตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A) ทุกคนมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ทั้งจากการทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ และการทานอาหารร่วมกับผู้ที่กำลังป่วยโรคนี้อยู่ อาหารที่มักมีการปนเปื้อนไวรัสตับอักเสบเอ เป็นอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะหอยดิบ หอยมีกาบ เมื่อเชื้อโรคชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวราว 2-4 สัปดาห์ อาการป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มจากมีไข้ ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ต่อมาพอไข้ลด จะเริ่มปรากฏอาการตัวเหลือง ตาเหลือง

by TVPOOL ONLINE

TV Pool OnlineTV Pool Online