อาหารไทยเป็นอาหารที่มีรสชาติหลากหลายทั้ง เปรี้ยว เผ็ด หวาน และเค็ม โดยความจัดจ้านของอาหารไทยยังเป็นที่ถูกปากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แต่ภายใต้รสชาติแสนอร่อยนั้นหากเราบริโภคมากเกินไปก็ซ่อนอันตรายอยู่ไม่น้อยเช่นกัน
น้ำตาล เป็นสารให้ความหวานในอาหาร เป็นหนึ่งในสารที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์อีกชนิดหนึ่งในเรื่องของกระบวนการเผาผลาญหรือกระบวนการขับถ่ายของเสีย ซึ่งล้วนแต่ต้องอาศัยพลังงานจากน้ำตาลทั้งสิ้น แต่หากว่าบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนและนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในที่สุด ปริมาณการบริโภคหวานให้ปลอดภัย คือ ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (1 ช้อนชา = 4 กรัม)
รสเค็ม ร่างกายมีอวัยวะที่ทำงานกับความเค็มโดยตรง นั่นก็คือ “ไต” มีหน้าที่ปรับโซเดียมในร่างกายให้สมดุล ถ้าโซเดียมมากเกินไปไตจะสั่งการให้ขับออกทางปัสสาวะ แต่ถ้าน้อยเกินไปไตจะดูดโซเดียมกลับไปสู่กระแสเลือดได้ ดังนั้นเอไตทำงานผิดปกติก็จะไม่สามารถขับเกลือออกจากเลือดได้ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้นเรื่อยๆ จนมีผลทำให้เกิดหัวใจวายได้ การบริโภคเกลือไม่ควรเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน (โซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)
ความมัน แม้ว่าไขมันจะมีประโยชน์ต่อการทำงานของสมองและหัวใจ แต่หากร่างกายได้รับไขมันเกินความจำเป็อาจนำไปสู่อาการป่วยของโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด โรคหัวใจ โดยเฉพาะคนที่เผลอรับประทานอาหารประเภทไขมันไม่อิ่มตัว และไขมันทรานส์สูงเป็นประจำ ควรบริโภคน้ำมันไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือประมาณ 30 กรัม
ทั้งนี้ ทุกรสชาติไม่ว่าจะเป็นหวาน มัน หรือ เค็ม จะมีความร้ายแรงต่อร่างกายเหมือนกันหากบริโภคเกินความจำเป็น และขาดการดูแลเอาใจใส่ร่ายกายด้วยออกกำลังกาย นอกจากการควบคุมการบริโภคด้วยการลดหวาน มัน เค็ม ด้วยตัวเอง
by TVPOOL ONLINE


