เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

สวัสดีค่ะ !! ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เผยงานวิจัยล่าสุด พบว่าคนไทย 1 ใน 3 หรือกว่าร้อยละ 36.5 ขาดวิตามินดี ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นพบว่า คนเมืองกรุง ถึงร้อยละ 64.6  มีระดับวิตามินดีที่ไม่เพียงพอ ส่งผลต่อสุขภาพกระดูกและสุขภาพทั่วไป เสี่ยงต่อการเกิดโรค

ทำไมขาดวิตามินดีใน

  • จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้หญิงที่กินวิตามินบำรุงครรภ์ ก็ยังสามารถพบภาวะขาดวิตามินดีได้
  • การทาครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 (SPF 15) จะลดการสังเคราะห์วิตามินดี ลดการดูดซึมแสงแดดสู่ผิวถึงร้อยละ 99
  • หนุ่มสาวออฟฟิศที่ไม่ค่อยออกแดด นั่งทำงานในห้องแอร์ประกอบกับการเลี่ยงแดด หรือไม่ค่อยออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง รังสี UVB จะไม่สามารถทะลุผ่านกระจกใส
  • การนั่งรับแสงผ่านหน้าต่างกระจกหรือหน้าต่างรถยนต์ หรือเมฆก็ทำให้ได้รังสี UVB น้อยลงไป 50% และการอยู่ใต้ร่มเงาชายคาก็ทำให้ได้รังสี UVB น้อยลงถึง 60%
  • ฝุ่น ควัน และมลภาวะทางอากาศทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลตจากแสงแดดมาถึงผิวหนังได้น้อยลง ทำให้กระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกายลดลงไปด้วย
  • ขาดอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี (วิตามินดีได้จากอาหารเป็นส่วนน้อย) การหวังพึ่งวิตามินดีจากอาหารปกติจึงเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดีสูง
  • ผู้สูงอายุ กลไกการสังเคราะห์วิตามินต่างๆ ของร่างกายก็เสื่อมลงตามธรรมชาติ ประกอบกับการทำกิจกรรมกลางแจ้ง การออกแดดก็น้อยลง จึงมีโอกาสขาดวิตามินดี

ขาดวิตามินดี เสี่ยงเกิดโรค 

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินดีได้อีก โดยดูจากลักษณะและโรคที่เป็น ซึ่งคนที่มีโอกาสขาดวิตามินดีได้มากกว่าคนทั่วๆ ไปคือ

  • คนที่มีโอกาสออกแดดน้อย และไม่มีโอกาสได้กินอาหารที่อุดมวิตามินดีหรืออาหารเสริมวิตามินดี
  • คนที่ผิวคล้ำ , เป็นโรคทางเดินอาหารชนิดที่การดูดซึมวิตามินดีเสียไป
  • คนที่เป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคตับเรื้อรัง และผู้สูงอายุ เพราะการสังเคราะห์วิตามินดีของร่างกายลดลง

หรือการเป็นโรคหรือมีสภาพร่างกายที่ขาดวิตามินดีอยู่แล้ว ก็อาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพต่อการเกิดกระดูกหักและเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวิตามินดี เช่น

  • หญิงวัยหมดประจำเดือน, ชายสูงอายุ (เกิน 50 ปี)
  • ผู้เป็นโรคอ้วน (BMI > 30 kg/m2), ผู้ได้รับยากันชัก
  • เคยกระดูกหักจากการถูกแรงกระแทกหรือการหกล้มเพียงเล็กน้อย
  • หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ผู้ได้รับยากลุ่มสเตอรอยด์ต่อเนื่อง
  • เป็นโรคระบบลำไส้ทำให้การดูดซึมวิตามินดีลดลง
  • ผู้เป็นโรคเรื้อรังที่อาจสัมพันธ์กับการขาดวิตามินดี เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันเลือดสูง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน สมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์

เติมวิตามินดีให้ร่างกาย

กรณีเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสขาดวิตามินดี หรือกลุ่มคนที่สภาพร่างกายจะเสียหายหากขาดวิตามินดี ควรตรวจวัดระดับวิตามินดี เพื่อเช็กว่า มีวิตามินดีเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอ อาจปรับการใช้ชีวิต เพื่อรับวิตามินดีมากขึ้นด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 เรื่องหรือทั้งหมด  คือ

  1. กินวิตามินดีเสริม
  2. ให้ผิวหนังที่ไม่ทาครีมกันแดดได้สัมผัสกับแสงแดดมากขึ้น
  3. กินอาหารที่อุดมวิตามินดี เช่น ปลาคอด ปลาแซลมอน ปลาทูน่า เห็ดตากแห้ง นมเสริมวิตามินดี เป็นต้น

สำหรับคนทั่วไปเองก็ควรป้องกันการขาดวิตามมินดี ด้วยการหมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ อุดมด้วยวิตามินดี และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย เช่น เลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และพยายามลดภาวะความเครียด ก็จะช่วยลดโอกาสปัญหาการขาดวิตามมินดี