เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

หลายคนอาจจะสงสัยว่าสีผสมอาหารมีโทษหรือเปล่า เพราะในปัจจุบันอาหารส่วนใหญ่ที่รับเราประทานกัน มักจะมีส่วนผสมของสีผสมอาหารรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอาหารประเภทขนม ซึ่งสีผสมอาหารนั้นมีประโยชน์ เพราะสีผสมอาหารนั้นเกิดจากการสกัดจากธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการปรับแต่งสีสันของอาหารให้มีสีสันที่สวยงาม และน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสีสันที่แท้จริงของอาหารนั้น อาจจะมีสีสันที่ดูจืดไปหน่อย บางครั้งอาจทำให้ดูแล้วไม่น่ารับประทานเท่าไหร่ โดยเฉพาะขนม ถ้าเราทำให้ดูมีสีสันที่สดใสสวยงาม ขนมก็จะออกมาดูน่ารับประทาน ยิ่งถ้าเด็กๆ เห็นแล้วรับรองว่าต้องชอบกันทุกราย เรามาดูกันว่าจริงๆ แล้วสีผสมอาหารแต่ละสี สกัดมาจากอะไรกันบ้าง

สีเขียว สกัดมาจากใบเตย อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ขนมชั้น ซ่าหริ่ม ขนมเปียกปูน ลอดช่อง เป็นต้น

สีแดง สกัดมาจากพืชหลายชนิดมี กระเจี๊ยบแดง ข้าวแดง ฝาง รังคั่ง หัวบีท อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น น้ำกระเจี๊ยบ หมูแดง เต้าหู้ยี้ น้ำยาอุทัย ขนมชั้น ขนมขี้หนู ข้าวเหนียวแก้ว เป็นต้น

สีเหลือง สกัดมาจาก ดอกกรรณิกา ขมิ้น เมล็ดคำแสด ลูกตาลสุก มันเทศ ลูกพุด อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น มะพร้าวแก้ว ขนมเรไร วุ้น ข้าวเหนียวมูน ขนมเบื้อง ข้าวหมก แกงกะหรี่ แกงเหลือง ขนมตาล เค้ก ไอศกรีม ข้าวเกรียบ เต้าหู้เหลือง เป็นต้น

สีน้ำตาล สกัดมาจากโกโก้ อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ขนมเค้ก คุ้กกี้ ขนมสัมปะนี หน้าน้ำตาลที่ใช้ชุบโดนัท เป็นต้น

สีม่วง สกัดมาจากข้าวเหนียวดำ ลูกผักปรัง และดอกอัญชัน อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ขนมประเภทแป้งข้าวเหนียว เช่น ถั่วแปบ ขนมจาก ขนมโค ขนมต้ม ฯลฯ และขนมที่ทำให้สุกในเวลาสั้น ๆ อุณหภูมิไม่สูง เช่น ซ่าหริ่ม บัวลอย น้ำดอกไม้ เรไร ช่อม่วง เป็นต้น

สีดำ สกัดมาจากกาบมะพร้าว ดอกดิน อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ขนมเปียกปูน ขนมดอกดิน เป็นต้น