เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ปัจจุบันมีการปลูกทุเรียนมากในทุกภาคของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือ ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดนครพนม ภาคกลาง ที่จังหวัดนนทบุรี อยุธยา ลพบุรี และสระบุรี ภาคใต้ที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส และตรัง ภาคตะวันออกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด เป็นต้น จากสถิติการเพาะปลูก และพื้นที่การปลูกทุเรียน กล่าวได้ว่า จังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคตะวันออกหรือของประเทศ

จังหวัดจันทบุรี ซึ่งชาวสวนนำมาขายส่วนใหญ่เป็นทุเรียนตกเกรด ที่คนจีนไม่รับซื้อ ถูกนำมาส่งขายเพื่อบริโภคในประเทศ โดยราคาขายส่งทุเรียนตกเกรด เฉลี่ยอยู่ที่ 45-60 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30-50 บาท ขณะที่ทุเรียนเกรดคุณภาพ ราคาเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 75-80 บาท ราคานี้ถูกกว่าทุเรียนเกรดเอ หรือที่ส่งไปจีน เฉลี่ยกิโลละ 10-15 บาท ถึงจะถูกกว่าเเต่ก็เป็นราคาที่เเพงกว่าปีที่เเล้วเเละสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยผู้ค้าทุเรียน ยอมรับว่า การกำหนดราคาทุเรียนจะดูราคาจากล้งจีนเป็นหลัก เเม้จะเป็นทุเรียนตกเกรด ตกไซส์ แต่เมื่อถึงมือคนกินคนไทย ราคาขายจะสูงเฉลี่ยเกิน 100 บาทต่อกิโลกรัม

        ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาวสวนทุเรียนจันทบุรี ยอมว่า พ่อค้าจีนจะแจ้งราคามาทางโทรศัพท์ ซึ่งราคาจะขึ้นลงผันผวน เฉลี่ย 5 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับคุณภาพทุเรียน หากทุเรียนคุณภาพดีจะได้ราคาสูง โดยยอมรับว่าผิดกลไกตลาด เพราะประเทศไทยถือเป็นผู้ปลูก เเต่กลับกำหนดราคาโดยพ่อค้าจีน เเบบนี้ต่างจากอดีตจะขายผ่านตลาดค้าส่ง เเต่ก็เพราะคนจีนกินมากกว่า ซื้อเเพงกว่า ที่สำคัญเกษตรกรไทยขาดการบริหารจัดการ ทุเรียนคุณภาพก็ไม่เท่ากัน และนี่อาจเป็นช่องโหว่ที่กลายเป็นต้องพึ่งพ่อค้าจีน

เมื่อลองมาเเยกส่วนเเบ่งราคาทุเรียน ไทยส่งไปขายจีน กิโลกรัมละ 200บาท แบ่งให้คนตัด 1-2 บาทต่อกิโลกรัม ผู้แพคกล่อง ส่งออกอีก 6 บาทต่อกิโลกรัมและผู้จัดจำหน่ายชาวจีนที่ทำหน้าที่ส่งขายในทีมอล ได้รับไป 80-90 บาทต่อกิโลกรัม ก็จะเหลือถึงชาวสวน 100-110 บาทต่อกิโลกรัม เเต่ชาวสวนจะได้มากน้อยขึ้นอยู่กับต้นทุนของเเต่สวนด้วย

จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหน และโดยวิธีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่า เป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราชมายังกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2318 ในระยะต้นเป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด สำหรับผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง 3 พันธุ์ไม่ได้ จึงใช้เมล็ดจากทั้ง 3 พันธุ์นั้นปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย ซึ่งรายชื่อพันธุ์ทุเรียนเท่าที่รวบรวมได้จากเอกสารได้ มีถึง 227 พันธุ์