เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ในตำราแพทย์แผนไทย จะให้ความสำคัญกับรสชาติอาหาร โดยที่ผักพื้นบ้านบางชนิดนอกจากจะเป็นอาหารแล้วยังมีสรรพคุณทางยา มีรสชาติแต่ละอย่างเป็นตัวบ่งชี้สรรพคุณที่แตกต่างกันไป

 

รสฝาด มีสรรพคุณช่วยสมานแผล แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุในร่างกาย เช่น ยอดมะม่วง ยอดมะกอก ฯลฯ

รสหวาน มีสรรพคุณช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดี ให้ความชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย เช่น เห็ด ผักหวานป่า ผักขี้หูด บวบ น้ำเต้า ฯลฯ

รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณแก้ท้องอืด แก้จุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ เช่น ดอกกระทือ กระเทียม ดอกกระเจียวแดง ดีปลี พริกไทย ใบชะพลู ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย ฯลฯ

รสเปรี้ยว มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยระบาย เช่น ยอดมะขามอ่อน มะนาว ยอดชะมวง มะดัน ยอดมะกอก ยอดผักติ้ว

รสหอมเย็น มีสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย ช่วยให้สดชื่น บำรุงหัวใจ เช่น เตยหอม โสน ดอกขจร บัว ผักบุ้งไทย เป็นต้น

รสมัน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงเส้นเอ็น เช่น สะตอ เนียง ขนุนอ่อน ถั่วพู ฟักทอง กระถิน ชะอม

รสขม มีสรรพคุณช่วยระบาย บำรุงโลหิต เจริญอาหาร เช่น มะระขี้นก ยอดหวาย ดอกขี้เหล็ก ใบยอ สะเดา เพกา ผักโขม