สำหรับท่านที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักสด ร่างกายก็จะขาดวิตามิน และคลอโรฟิล ในใบย่านางมีวิตามิน คลอโรฟิลคุณภาพดี มีพลังสด พลังชีวิตประสิทธิภาพสูง ในการปกป้อง คุ้มครองและฟื้นฟูเซลล์ของร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม หลายครั้งที่การดื่มสมุนไพรเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ก็ควรจะทำอย่างอื่นเสริมในการปรับสมดุลร้อนหรือเย็นของร่างกายด้วย จะทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพดียิ่งขึ้น เช่น การปรับสมดุลด้านอิทธิบาท อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย อากาศ เอนกาย และเอาพิษออก ซึ่งรายละเอียดของการปรับสมดุลร้อน-เย็น สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือถอดรหัสสุขภาพ ร้อน-เย็น ไม่สมดุล
สรรพคุณใบย่านาง ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง มีส่วนช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่าง ๆ
ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น จึงใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการอันเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ใบย่านางเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ในการป้องกัน คุ้มครองรักษา และฟื้นฟูลเซลล์ร่างกายของคนในยุคนี้ เพราะคนส่วนใหญ่จะมีภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน อันเนื่องมาจากผู้คนส่วนใหญ่มีความเครียดสูง มักถูกบีบคั้น กดดันจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ให้ต้องแก่งแย่งแข่งขัน เร่งรีบ เร่งร้อน สิ่งแวดล้อมก็มีมลพิษมากขึ้น ต้นไม้ที่ให้ออกซิเจน ร่มเย็น ให้ความชุ่มชื่นก็ถูกทำลายจนเหลือน้อย โลกจึงร้อนขึ้น อาหารและเครื่องดื่มปนเปื้อนสารพิษสารเคมีมากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นผลิตทางการเกษตร ที่ใช้สารเคมีกันอย่างมากมายจนถึงการปรุงเป็นอาหาร ผู้คนอยู่กับเครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยหลัก ที่ทำให้คนเจ็บป่วยด้วยภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
สรร
ประโยชน์ทางยาของย่านาง
สารเคมีสำคัญที่พบในย่านาง
รากย่านางมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tilacorine, Ttiacorinine, Nortiliacorinine A, Ttiliacotinine 2-N-Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondrodendrine (isoberberine)
คุณค่าทางโภชนาการของย่านาง
ข้อมูลจากหนังสือ Thai Food Composition, Institute of Nutrition, Mahidol University (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) พบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากและโดดเด่นในใบย่านาง คือ ไฟเบอร์ แคลเซี่ยม เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ
โภชนาการทางอาหารที่ได้จากใบย่านาง 100 กรัม
- พลังงาน 95 กิโลแคลอรี
- เส้นใย 7.9 กรัม
- แคลเซียม 155 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
- เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม
- วิตามินเอ 30,625 หน่วยสากล
- วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.36 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 141 มิลลิกรัม
- โปรตีน 15.5 เปอร์เซ็นต์
- ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซ็นต์
- โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซ็นต์
- แคลเซียม 1.42 เปอร์เซ็นต์
ปัจจุบันมีกระแสการบริโภคน้ำย่านางคั้นบีบเย็น ซึ่งเชื่อกันว่ารักษาโรคได้มากมาย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง อาการตกเลือดในมดลูก โรคเกาต์ โรคเชื้อราทำลายเล็บ อาการริดสีดวงทวาร หรือเป็นผื่นคัน
ย่านางเป็นยาเย็น ในปริมาณที่มีผู้ดื่มรักษาโรคเป็นปริมาณสารสกัดน้ำที่ไม่เข้มข้นมากนัก คล้ายการดื่มน้ำใบเตยเพื่อความชื่นใจดับกระหาย แต่ไม่มีรายงานการวิจัยทั้งในและต่างประเทศสนับสนุนการใช้งานดังกล่าว เพราะประเทศตะวันตกไม่มีต้นย่านางให้ศึกษา
by TVPOOL ONLINE