เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เด็กวัย 1-3 ปีนี้ถึงป่วนยังไง แต่ท้ายสุดแล้ว ก็พูดรู้เรื่อง มีเหตุผล และมี “กติกา” ในแบบของเขา เมื่อโตขึ้น วุฒิภาวะที่มากขึ้นพร้อมกับอายุ จะค่อยๆทำให้เด็กซึมซับ “กติกา” ที่สลับซับซ้อนขึ้น เพียงแต่พ่อแม่ต้องเริ่มเสียตั้งแต่วันนี้และดูกฏเหล็ก 9 ข้อนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เลี้ยงลูก

กฎข้อที่ 1 ใชัวิธีชักชวนโดยไม่ใช่ใช้คำสั่ง เพราะเด็กยังเล็กเกินกว่าจะเข้าใจ “ลูกเลือกเอาค่ะว่า จะกินข้าวหรือจะไปเล่น ถ้าจะกินข้าวต้องนั่งที่โต๊ะอาหารนะ”

กฎข้อที่ 2 มีทางเลือกให้สักหน่อย ไม่ใช่ฝืนใจไปหมด แต่ทางเลือกนั้นต้องมีกติการ่วมอยู่ด้วย “เดี๋ยวการ์ตูนเรื่องนี้จบแล้ว เราไปอาบน้ำกันนะ”

กฎข้อที่ 3 ให้เวลาทำใจแยกจากกิจกรรมที่กำลังสนใจสักหน่อย เช่น การบอกล่วงหน้าจะทำให้ลูกเตรียมตัวเตรียมใจ “แม่อนุญาตให้เล่นน้ำได้ แต่ถ้าฉีดน้ำเปียกทั่วบ้าน ต้องขึ้นนะลูก”

กฎข้อที่ 4 ทุกกิจกรรมของลูกที่อาจลามปามเกิดความวุ่นวาย ต้องมีกติกาแฝงไว้สักหน่อย และแม่ก็ถือว่าเป็นการฝึกหัดให้หนูรู้จักรับผิดชอบในสิ่งที่ทำด้วย “วันนี้ลูกอยากไปเที่ยว แม่จะพาไป แต่ต้องสัญญากันว่าครั้งนี้จะไม่ซื้อของเล่น เพราะคราวที่แล้วซื้อมาหลายชิ้นแล้ว”

กฎข้อที่ 5 ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ไม่มีอะไรที่ลูกจะได้ไปหมดทุกอย่าง และที่สำคัญสัญญาที่แม่ว่าก็คือกติกานั่นเอง

“วันนี้ลูกเก่งจัง กินนมไม่หกด้วย”

กฎข้อที่ 6 มาพร้อมกับ ข้อที่7 คือ ชมเชยเมื่อลูกทำได้ แต่แม่จะไม่ตำหนิถ้าลูกทำผิด เพราะแม่รู้ว่าวัยแค่นี้จะคาดหวังอะไรนักหนา ที่สำคัญลูกกำลังต้องการกำลังใจในการทำสิ่งต่างๆ แม่จะพยายามหาวิธีสนับสนุนให้ลูก “ทำได้”

กฎข้อที่ 8 ถ้าเป็นเรื่องอันตราย คำว่า “ห้าม” สามารถใช้ได้ ที่สำคัญต้องมีท่าทีที่เด็ดขาดด้วย แค่นี้ลูกก็สัมผัสได้ว่าแม่เอาจริง และจะเป็นแบบนี้ทุกครั้งที่ลูกไม่เชื่อฟัง เช่น “ห้ามเล่นปลั๊กไฟ ห้ามออกนอกบ้านคนเดียว ฯลฯ”
กฎข้อที่ 9 ทุกๆกติกาไม่ใช้วิธีบังคับ หรือเข้มงวดและคาดหวังว่าลูกต้องทำได้ แต่จะค่อยๆใช้เหตุผลและแฝงกติกาเหล่านี้ไว้ในกิจกรรมของลูกแทน