เอาละค้า !! แน่นอนเลยว่าหากคุณเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตัวเอง รวมทั้งความสัมพันธ์ที่มีต่ออาหารด้วย ชีวิตของคุณก็จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และนี่คือ 10 เคล็ดลับที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของคุณได้ไปดูกันเลย
1. อย่าอด
รับประทานอาหารที่ตัวเองชอบไปเถอะ แค่กะปริมาณให้เหมาะสมก็พอ สิ่งเลวร้ายที่สุดคือการฝืนตัวเองมากเกินไปจนสุดท้ายคุณก็ไปหาอะไรกินต่ออยู่ดีเนื่องจากคุณยังไม่อิ่มนั่นเอง
2. รู้จักวางแผน
เวลาหิวมองไปทางไหนก็เห็นแต่ของอร่อย ดังนั้นไม่ควรสั่งอาหารตอนที่หิวจัดๆ ถ้าคุณรู้ตัวว่ากำลังจะไปร้านสเต็กก็จงมีความสุขไปกับการรับประทานเนื้อสัตว์ ส่วนมื้อที่เหลือขอเป็นธัญพืชเต็มเมล็ด และพืชผักสดๆแล้วกัน
3. เลิกนับแคลอรี่
แทนที่จะนับแคลอรี่ หันมาสนใจว่าอาหารเหล่านี้มาจากไหนและมีประโยชน์หรือไม่ดีกว่า อาหารที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยสารอาหารจะช่วยบรรเทาความหิว รักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้คงที่ ลดอาการอยาก และช่วยให้สมองส่งสัญญาณไปยังกระเพาะว่าคุณอิ่มแล้ว
4. เลิกความซ้ำซากจำเจ
ลองใส่เครื่องเทศเพื่อสร้างสีสันและรสชาติใหม่ๆขึ้นมา ไม่ต้องไปกลัวกระเทียมหรือน้ำมันมะกอก หรือไม่ก็เปลี่ยนรูปแบบในการปรุงอาหาร เช่น นำผักไปปิ้งย่างบ้างอะไรบ้าง สนุกจะตาย!
5. เตรียมให้พร้อมและนำไปเก็บ
ล้างผักให้สะอาดและหั่นให้เรียบร้อยทันทีที่กลับมาจากร้านค้าหรือตลาด จากนั้นก็นำไปเก็บไว้ในภาชนะแก้วที่สามารถมองเห็นได้ ถ้าอาหารพร้อมแล้วก็หมายความว่าคุณพร้อมที่จะกินมัน แต่ถ้าไม่พร้อมคุณก็คงไปหาอาหารที่สะดวกกว่านั้นมารับประทาน จริงไหม?
6. กินอย่างราชา
หลายคนบอกว่าอาหารเช้าสำคัญที่สุดแต่บางครั้งคุณก็ยังไม่ค่อยหิวนี่นา อันที่จริงมื้อเที่ยงน่าจะสำคัญที่สุดเพราะระบบย่อยอาหารของคุณพร้อมเต็มพิกัดและคุณก็สามารถกินได้เต็มที่ นอกจากนี้คุณก็ไม่ต้องไปเตรียมมื้อเย็นให้ยิ่งใหญ่อลังการอีกด้วย
7. ทิ้งความรู้สึกผิดไปซะ
หากคุณคิดถึงอาหารไปพร้อมๆกับตัวเลขบนตาชั่งล่ะก็ บอกเลยว่าความสุขในการกินของคุณจบสิ้นลงแล้ว ถ้าคุณจะกินก็จงกินอย่างมีความสุข เพียงแค่เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ที่สำคัญความรู้สึกผิดคือสาเหตุหลักของการกินมากเกินไปซึ่งในที่สุดก็จะบ่อนทำลายความพยายามทั้งหมดของคุณ
8. กินอาหารหลากสี
การรับประทานอาหารทุกสีจะช่วยให้ร่างกายมีพฤกษเคมีในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นอกจากนี้ยังทำให้คุณอิ่มท้องและเอาชนะความอยากอาหารที่ไร้ประโยชน์ได้อีกด้วย
9. รู้ว่าเก็บอาหารว่างไว้ที่ไหน
คุณควรเก็บอาหารว่างเพื่อสุขภาพไว้ในตู้เย็นหรือบนโต๊ะทำงานหรือในห้องรับประทานอาหารกลางวันที่ออฟฟิศ เช่น ถั่ว ผลไม้ และโยเกิร์ต เป็นต้น การเก็บอาหารเหล่านี้ไว้ใกล้มือจะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงขนมหวานหรืออาหารว่างที่ไม่มีประโยชน์ได้
10. ปฏิบัติตามกฎ 80/20
รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพร้อยละ 80 กับอาหารตามใจตัวเองนิดๆหน่อยๆอีกร้อยละ 20 พฤติกรรมการกินของคนเราไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ คุณจะปฏิบัติตามกฎนี้ทุกวันหรือทำเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ได้ จงเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง พยายามฟังว่าร่างกายต้องการบอกอะไรคุณ คุณสัมผัสความรู้สึกที่ว่า “ฉันไม่ต้องการ” ได้ไหม? อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณรับประทานอาหารมากเกินไป
by TVPOOL ONLINE