เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

จากการเปิดเผยผลสำรวจสุขภาพของคนไทย พบว่าคนไทยมีรอบเอวเกินมาตรฐาน ซึ่งเกิดจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม และออกกำลังกายน้อย จึงส่งผลให้คนไทยเสียงเกิดโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดัน ฯ จึงอยากให้คนไทยหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้นพร้อมกับทานอาหารที่มีประโยชน์

อย่างวันนี้จะของยกตัวอย่าง ข้าวโพดสีม่วง หรือข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง เป็นธัญพืชที่มีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็น สารต่อต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยให้อัตราการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายลดลง และในข้าวโพดชนิดนี้ ยังมีสารช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็ง ต่างๆ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย

ข้าวโพดข้าวเหนียวอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่กำลังเป็นที่นิยมกับผู้บริโภคในขณะนี้ คือ ข้าวโพดสีม่วง หรือข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ซึ่งปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามท้องตลาด หลายท่านคงเคยพบเห็นกันมาบ้างแล้ว

แต่อาจจะสงสัยอยู่ว่า ข้าวโพดสีม่วง นี้มาจากไหน และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง เป็นการพัฒนาจากพันธุ์ข้าวโพดสีม่วงและพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวของบริษัทเอกชน ผลผลิตที่ได้ทำให้ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงที่มีฝักใหญ่ รสชาตินุ่มลิ้น หวานและเหนียว สารสีม่วง

สำหรับสีม่วงเข้มในเมล็ด ข้าวโพดสีม่วง นั้น เป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้ในระดับสูง ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งชนิดเนื้องอก เสริมความคุ้มกันให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค สมานแผล เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ลดภาวะการเป็นโรคหัวใจ ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและชะลอความแก่ การปลูก ข้าวโพดสีม่วง

สำหรับเกษตรกรที่สนใจจะปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ควรให้ความสำคัญกับดิน เพื่อให้ได้จำนวนต้นต่อไร่ และผลผลิตต่อไร่สูง เริ่มจากการไถดะและตากดินไว้ 3 – 5 วัน แล้วจึงใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 ตันต่อไร่ เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดิน ให้สามารถอุ้มน้ำได้นานและเพิ่มธาตุอาหารให้กับข้าวโพด จากนั้นไถแปรเพื่อย่อยดินให้แตกละเอียดเหมาะกับการงอกของเมล็ด

เกษตรกรสามารถปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงได้ 2 วิธี คือ ปลูกแบบแถวเดี่ยว โดยเว้นระยะห่างระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น หรือ ปลูกแบบแถวคู่ ต้องยกร่องสูง โดยมีระยะห่างระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ปลูกเป็น 2 แถวข้างร่อง ห่างกัน 30 เมตร และมีระยะห่างระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น ทั้ง 2 วิธีจะได้จำนวนต้นประมาณ 7,000-8,500 ต้นต่อไร่ และใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อไร่

เมื่อปลูกได้ 7 วัน ข้าวโพดอยู่ในระยะกำลังงอก ควรระมัดระวังเรื่องการให้น้ำ เพราะหากขาดน้ำในระยะนี้จะทำให้การงอกไม่ดี จำนวนต้นต่อพื้นที่จะน้อยลง ส่งผลต่อจำนวนผลผลิต และอีกระยะหนึ่งที่ขาดน้ำไม่ได้คือระยะออกดอกเพราะจะทำให้เกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดจะไม่ดี ติดเมล็ดไม่เต็มถึงส่วนปลาย หรือติดเป็นบางส่วน ฝักที่ได้จะขายได้ราคาต่ำ ใน 2 ระยะนี้ควรให้น้ำถี่กว่าช่วงอื่นๆ ที่ตามปกติแล้วจะให้น้ำทุก 3-5 วัน ขึ้นกับสภาพต้นข้าวโพดและสภาพอากาศ

เมื่อข้าวโพดมีอายุ 40 – 45 วันหลังปลูก ถ้ามีอาการเหลืองหรือไม่สมบูรณ์ ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โรยด้านข้างต้นข้าวโพด ในขณะที่ดินมีความชื้นหรือให้น้ำตาม เพื่อเป็นการบำรุงให้ต้นข้าวโพดสมบูรณ์ แข็งแรงโดยปกติแล้วเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดเมื่อมีอายุประมาณ 60-70 วันหลังปลูก แต่ระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่สุด คือ ระยะ 18-20 วันหลังข้าวโพดออกไหม 50% (หมายถึงข้าวโพด 100 ต้น ออกไหม 50 ต้น) แต่หากปลูกในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นอายุการเก็บเกี่ยวก็จะยืดออกไปอีก