เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ลูกที่อยู่ในวัยโตกว่าวัยทารก หรือวัยคลาน แต่ชอบร้องตะโกน หวีดร้อง กัดเด็กคนอื่น นั่นแสดงให้เห็นว่า ลูกแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย เชื่อว่าหลายๆบ้านก็คงพบกับปัญหาเหล่านี้อยู่วันนี้เราก็ไม่ต้องเครียดเลยเพราะว่ามีเทคนิคดีๆในการรับมือลูกที่เริ่มมีนิสัยเอาแต่ใจตัวเอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กเอาแต่ใจ

1.จัดกฎเกณฑ์กับลูกให้เหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของเด็ก

2.ตั้งกฎเรื่องความปลอดภัยให้แก่ลูก เช่น อย่าใช้นิ้วมือจับเตาไฟร้อนๆ ห้ามวิ่งเล่นที่ถนน ถือเป็นกฎเหล็ก เราจะไม่อะลุ้มอล่วยในเรื่องกฎเหล็กแห่งความปลอดภัย

3.เน้นเรื่องการสร้างพฤติกรรมทางสังคมเชิงบวก โดยให้ลูกพูดคำว่า ขอโทษ หรือขอบคุณอย่างสุภาพกับเพื่อนๆ และคนขอบข้าง

4.คุยกับลูกถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างชัดเจน เด็กวัยเรียนหรือเด็กโตแล้วจะเริ่มมีสมาธิ ตัวอย่างเช่น เมื่อถามลูกว่าทำไมลูกทำอย่างนั้น ลูกอาจจะไม่สามารถตอบได้ แต่หากตั้งคำถามใหม่ว่าแม่สงสัยจังเลยว่าทำไมเกิดสิ่งนี้บ่อยจัง การตั้งคำถามปลายเปิดแบบนี้ทำให้เด็กเริ่มใช้เวลาคิด และคุณพ่อคุณแม่อาจแปลกใจกับคำตอบที่ได้รับ

5.สงบ เมื่อคุณพ่อคุณแม่เริ่มหงุดหงิดต่อพฤติกรรมของลูกจะทำให้เรารู้สึกไม่ดีและควบคุมตัวเองไม่ได้ (ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่เริ่มมีอาการเหมือนเวลาลูกเอาแต่ใจตัวเองแล้วล่ะค่ะ) และสิ่งนั้นไม่ได้สอนอะไรให้แก่ลูกเลย

6.สม่ำเสมอ เมื่อพูดอะไรแล้วต้องทำตามที่พูด หากเรามีความคาดหวังพฤติกรรมอะไรให้ลูก เราต้องทำตามนั้นจริง ๆ คุณแม่จะไม่ให้ลูกเล่นของเล่นนี้อีกหากลูกไม่รักษาของ หากพูดบ่อยๆ เกิน 10 ครั้งแสดงว่าไม่ได้ผลแล้วนะคะ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือให้เราเริ่มสอนตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย และทำอย่างสม่ำเสมอ เข้าใจความต้องการและรู้พัฒนาการของลูกอย่างละเอียดอ่อนโดยให้อยู่ภายในขอบเขตที่เหมาะสม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ

by TVPOOL ONLINE