ตอแหลตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า ตอแหล เพี้ยนมาจากคำว่า ” ต่อแหล ” ซึ่งเป็นการร้องเพลงแหล่ เพลงเข้าทำนองภาษาถิ่นใต้ เข้าใจว่า คล้ายกับคำว่า โกหก หลอกลวง แต่ความหมายทางรากลึก ประวัติศาสตร์ ตอแหลมิใช่คำหยาบ และไม่ได้แปลว่าโกหก แต่เป็นกระบวนการสร้างเรื่อง พูดความจริง ผสมความเท็จ ทำให้ผู้อื่นจับผิดได้ยาก แต่ก็คล้ายกับโกหก
ตอแหลในความหมายที่ ๑ เป็นคำด่าคนพูดไม่จริง ( มักใช้กับผู้หญิง ) หรือใช้กับเด็กช่างพูด
ตอแหลในความหมายที่ ๒ ใช้เรียกต้นไม้ที่ให้ผลเร็วกว่าปกติ เช่น มะเขือตอแหล
คำว่า ตอแหล กับคำว่าโกหก ก็มีความหมายคล้ายๆกันจะแตกต่างที่น้ำหนักของคำๆนั้น ถ้าเราพูดออกไปว่า ผู้หญิงคนนั้นตอแหล ดีไม่ดีอาจมีการตบตี หรือฟ้องร้องเกิดขึ้น ถ้าใช้กับผู้ชาย ก้ไม่ทราบว่าคนที่ว่า หรือ ถูกว่าจะเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ หรือ เป็นพวกพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
อย่างไรก้ตาม ควรจะสังวรณ์ ระวังในการใช้คำพูด ดั่งประโยคที่ว่า Words once spoken can’t be altered คำพูดที่กล่าวไปแล้วไม่อาจเปลี่ยนแปลง
by TVPOOL ONLINE