เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

พูดได้คำเดียวว่า ประสบความสำเร็จจริงๆสำหรับละครเรื่องบุพเพสันนิวาสที่ตอนนี้ คนติดกันงอมแงม อีกทั้งเรตติ้งพุ่งกระฉูดแบบฉุดไม่อยู่เลยทีเดียว

และคำยอดฮิตที่เป็นสรรพนามเรียกกันว่า “ออเจ้า” จนแฟนละครและชาวเน็ตเอามาพูดกันจนติดปาก นั้นแปลว่าอะไร?

งานนี้เจ๊จึงขออาสาพาทุกคนไปหาข้อมูลมา คำว่า  ออเจ้า กันคะ  ซึ่งพบว่า “ออเจ้า” เป็นคำสรรพนามโบราณที่ใช้เรียกบุรุษที่ 2 (คนที่เราพูดด้วย) ซึ่งมีการบันทึกไว้ในหนังสือจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม ของ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสสมัยพระณารายณ์มหาราช ว่าคำนี้มีไว้ใช้พูดกับบุคคลที่มีฐานะต่ำกว่า และซึ่งผู้พูดไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามมาก่อน หรือคนที่ไม่สนิท

แต่พอมาอ่านในเฟสบุคของคุณ Kornkit Disthan ก็ได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าในเมืองไทยเรามีหลักฐานว่าเราใช้คำนี้พูดกับคนที่สนิทด้วย อย่างที่ในละครบุพเพสันนิวาสก็ใช้นี่แหละค่ะ ซึ่งเป็นไปในเชิงสุภาพ

Image result for ออเจ้า
ถ้าแบ่งออกเป็นคำว่า “ออ” กับ “เจ้า” แล้ว..
คำว่า “เจ้า”  ใช้เรียกบุคคลที่เราพูดด้วยอยู่เหมือนเดิม
ส่วนคำว่า “ออ” จะใช้นำหน้าชื่อคน แต่ก็ยังคงหาที่มาของคำนี้ได้ยากอยู่ดี แต่ก็พอมีวรรณคดีโบราณที่มีตัวอย่างการใช้คำว่า “ออ” กับทั้งเพศชายและเพศหญิงเช่น ชูชกเรียกนางอมิตดาว่าออเจ้า และนางอมิตดาก็เรียกชูชกว่าออตา ซึ่งตัวละครสองตัวนี้คือสามีภรรยากัน

โดยถ้าเปรียบเป็นภาษาในปัจจุบัน คำว่า “ออเจ้า” ก็เปรียบเทียบได้กับคำว่า “คุณ” เพราะถ้าลองวิเคราะห์จากหลักฐานเก่าๆ อย่างชูชกเรียกเมียที่สาวและเอาใจยากว่าออเจ้า (ตามความหมายตามย่อหน้าสองที่ว่าใช้เรียกคนที่ไม่สนิท) ในเชิงออดอ้อนแบบหนุ่มๆ เรียกสาวที่ตัวเองไม่รู้จักอย่างเอ็นดู แบบคนรุ่นใหม่เรียกแฟนปกติด้วยคำว่า “ตะเอง” “ตัวเอง” เป็นต้น

Related image