เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

กลายประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตบนโลกออนไลน์ รวมทั้งคนในแวดงกฏหมาย อัยการ ทนายความ สะเทือนถึงวงการบันเทิง ต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในตอนนี้  หลังจาก นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และนาย นายพชร ยุติธรรมดำรง ประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เเละอดีตอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊ก ตำหนิละครดังทาง ช่อง 3เรื่อง  “ให้รักพิพากษา”ของค่ายชลลัมพี  กำลังบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงานของอัยการ และตำแหน่งผู้พิพากษา ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้

โดยได้ยกตัวอย่างที่ละครบิดเบือนบางส่วนว่ามีการนำเสนอที่บิดเบือนการทำงานของอัยการที่เสียหายมาก เช่น คดีไม่สำคัญมอบอัยการผู้ช่วยทำ หรือ ชวนทนายมาเป็นอัยการเพราะกำลังขาดคน หรือการทำงานโดยเลือกเอาเอกสารออกจากสำนวน ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทำให้สังคมเข้าใจบทบาทอัยการที่ไม่ถูกต้องอย่างรุนแรง กระทบต่อความรู้สึกของอัยการทั่วประเทศ

ซึ่งต้นตอฉากที่กลายเป็นดราม่า คือฉากที่แฟนเก่าของทิชา (เบลล่า ราณี) คือ (อ้น สราวุฒิ) ซึ่งเป็นอัยการมาง้อขอเธอคืนดีด้วยการ “ชวนไปเป็นอัยการที่สำนักงาน” โดยบอกว่า “เป็นอัยการดีกว่าเป็นทนายเอกชน มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ จะขยับไปเป็นผู้พิพากษาก็ได้ จะเล่นการเมืองก็ได้”

ถ้าจะมองย้อนไปในเรื่องนี้”ทีวีพูล”ขอสรุปเรื่่องราวดราม่าเป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายๆ  ทั้งจากคนในแวดวงกฏหมาย และฝั่งคนดูละคร ให้เห็นมุมมองทั้ง 2 ฝ่ายแบบชัดเจน

1.คนในแวดวงกฎหมายบอกว่าละครให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่สังคมเกี่ยวกับวิชาชีพทางกฎหมาย เช่น อัยการเป็นข้าราชการของรัฐ จะเป็นอัยการได้จึงต้องสอบบรรจุ ไม่ใช่ใครมาเชิญก็ได้เป็น อัยการขยับไปเป็นผู้พิพากษาไม่ได้ เพราะสำนักงานอัยการสูงสุดกับศาลยุติธรรมเป็นคนละองค์กรกัน โอนย้ายบุคลากรไม่ได้ แต่อัยการจะเติบโตไปเป็นอัยการสูงสุด

2.ฝั่งคนดูละครที่เป็นกลางบอกว่า ผู้เขียนบทอาจจะดูซีรีส์เกาหลีชื่อดังที่เกี่ยวกับกฎหมายแล้วเอาหลายเรื่องมารวมกัน อีกอย่างคือ ระบบของเกาหลีสามารถโยกย้ายได้ แต่ของไทยทำไม่ได้

3.ของไทยก่อนจะเป็นอัยการได้ เอาแบบสายตรง ต้องจบนิติศาสตร จบเนติบัณฑิต เก็บคดีครบถ้าเป็นทนายความ หรือหากรับราชการหรือทำงานสายอื่นก็ต้องอายุงานครบ อายุถึงเกณฑ์ คุณสมบัติครบถ้วนถึงมีสิทธิสอบ

4.ส่วนอีกมุมมอง ก็บอกว่าคงมีส่วนที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการทำงาน การคัดคน ให้เข้าสู่อาชีพนี้ในหลายจุด แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรมาก หน่วยงานรับผิดชอบก็ชี้แจงกลับไปทางผู้จัดให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริง เชื่อว่าทางผู้จัดคงปรับแก้หรือมีคำอธิบายกลับมาแน่นอน แวดวงบันเทิงถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เขาคงไม่อยากมายุ่งกับแวดวงกฎหมายหรอกนะ

5.“ทนายนิด้า” ศรันยา หวังสุขเจริญ ทนายความชื่อดัง ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นระบุว่า “#ละครก็คือละครไม่ใช่สารคดี ในส่วนของนิด้า ผู้เขียนบทมาติดตามการว่าความในศาลของทนายหญิงซึ่งดูการว่าความ ดูในห้องพิจารณา เขาทำกันประมาณไหน มีการสัมภาษณ์ชีวิตจริง มีการพูดคุยเกี่ยวเส้นทางการมาเป็นอาชีพทนายความว่ายากง่ายแค่ไหน  เอามาเป็นข้อมูลประกอบในการเขียนบทคาแรกเตอร์ของทนายทิชา แต่ด้วยความที่คนเขียนบทน่าจะคิดว่าเป็นละคร และคิดว่าคนดูเข้าใจ แม้จะมีคนดูบางกลุ่มที่ไม่เคยเข้าใจและคาดหวังให้ละครไปไกลถึงสารคดี แต่การวิจารณ์อยากให้หาข้อมูลข้อนี้ด้วย ไม่น่าจะด่วนสรุปว่าเอาใครก็ไม่รู้มาให้คำปรึกษา

6.ทนาย เจมส์ นิติธร แก้วโต มองว่ามันคือละครไม่ใช่เรื่องจริง  คือต้องดูที่การผลิตละครว่าเขามีจุดประสงค์บิดเบือนเนื้อหาจุดประสงค์เพื่ออะไร ถ้าบิดเบือนเพื่อใส่ร้ายองค์กรโดยเฉพาะ มีพฤติการณ์ที่ทำแบบนี้มาต่อเนื่อง ผมมองว่าเข้าข่าย แต่ถ้าการทำละครตรงนี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงอะไรเลย เจตนาทำเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น พี่ไม่น่าจะเกิดความเสียหาย

7.ทนาย ชลวิภา  วิริยะกุล ทนายความของทีวีพูลก็แสดงความคิดเห็นว่า ละครเรื่องนี้ให้ข้อมูลถูกต้องกับคนดูเพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น “การชวนทนายไปเป็นอัยการ” ซึ่งสามารถชวนกันได้ แต่ต้องผ่านการสอบเสียก่อน เป็นเพียงข้อความสั้นๆ ที่ทำให้คนดูตีความกันไปเองแบบผิดๆ แม้เห็นด้วยว่าละครต้องเขียนบทให้กระชับเพื่อความบันเทิง แต่ก็ต้องสร้างมาจากพื้นฐานของความเป็นจริง เพราะเรื่องวิชาชีพแต่ละอาชีพ มีความละเอียดอ่อน ผู้จัดจึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน

8. ส่วนอีกหลายกระแสมองว่า ที่อัยการออกมาติละครที่นำเสนอข้อมูลไม่ถูกต้องนั้นก็สมควรแล้ว หากจะอ้างว่าเป็นแค่ละครก็ดูจะชุ่ยไปหน่อย การทำละครควรมีการรีเสิร์ชเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ถ้าอยากให้ละครไทยมีคุณภาพก็ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ฃ

9.แต่อีกหลายความคิดเห็นก็บอกว่าว่าอัยการไม่ควรโวยวายใส่อารมณ์เกินเหตุ แค่ชี้แจงผู้จัดไปดี ๆ ก็ควรจบ อัยการควรหันมาจริงจังในเรื่องที่ควรจริงจัง คือการทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนเรียกร้องมาตลอดน่าจะดีกว่า

10.ส่วนกลุ่มคนดูละครก็เสียงแตก หลังพากันติดแฮชแท็ก #ให้รักพิพากษา พร้อมทั้งพากันเข้ามาแสดงความหิดเห็นกันอย่างหลากหลาย  ทั้งบอกว่าบทดังกล่าวเป็นเพียงแค่ละคร สร้างมาเพื่อความบันเทิงและสนุกสนาน จะไปคิดอะไรมาก ชีวิตทุกวันนีั้ก็เครียดพอแล้ว  แต่บางส่วนกลับบอกว่าอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาชีพนี้ ทีมงานควรศึกษาให้เข้าใจก่อน ค่อยมาทำเป็นบทละคร ในขณะที่อีกหลายคนกลับพุ่งเป้าไปที่การแสดงของเบลล่า ราณี  กองทัพ พีค และดาราคนอื่่นๆแทน

“ให้รักพิพากษา” เป็นละครที่กำลังออกอากาศทางช่อง 3 นำแสดงโดยนางเอกแม่เหล็กของช่อง  “เบลล่า ราณี” กับพระเอก  “พีค กองทัพ” ซึ่งเบลล่ารับบททิชา ทนายความสาวที่มุ่งมั่นเรื่องงานจนไม่สนใจเรื่องรัก กระทั่งมีหนุ่มรุ่นน้องเข้ามาฝึกงาน ทำให้หัวใจหวั่นไหว  ก่อนจะมาเจอดราม่าเรื่องนี้ ละครเรื่องนี้ฟีดแบคถือว่าดี เคมีของเบลล่ากับพีคมีความเข้ากัน ความน่ารักแบบโอปป้าของพระเอก โทนละครมีความซีรีส์เกาหลี มีการใส่รายละเอียดเรื่องอาชีพเข้าไป ทำให้คนมองว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของละครไทยได้ ไม่แพ้ซีรีส์ต่างประเทศ

บทสรุปเรื่องราวดราม่านี้ จะจบลงยังไงทางผู้จัดฯจะปรับบทหรือแก้ไขความถูกต้องเกี่ยวกับอาชีพของตัวละครมั๊ย หรือจะมีผลกับเรตติ้งละครช่อง 3 ที่ตอนนี้ก็ลูกผีลูกคนอยู่หรือเปล่า ต้องติดตามต่อไปด้วยใจระทึกทีเดียว
เรื่อง: เฮียจอมฉก 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง